ป้ายกำกับ ตำนานการสร้างระฆังหลวง
หมวดหมู่ ทั่วไป-อื่นๆ เกี่ยวกับทางวัดสันป่ายางหลวง
ตำนานการสร้างระฆังหลวง
ตำนานการสร้างระฆังหลวง
สร้างโดย พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ พธ.ม.กิตติมศักดิ์
เจ้าอาวาสวัดสันป่ายางหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ฯฯฯฯฯฯฯฯฯ
ตั้งแต่โบราณกาลที่ผ่านมา บรรพบุรุษแห่งชาวพุทธเมื่อได้มีความเชื่อและศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระรัตนตรัย
แล้ว ความเชื่อในการบูชามี ๒ อย่าง คือ
(๑)อามิสบูชา การบูชาด้วยดอกไม้และสิ่งของ
(๒)ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติพระกรรมฐาน
ทั้งโลกียะและโลกุตตระ ในพระธรรม ๒ อย่างนี้ ชาวพุทธได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันโดยหวังเอาบุญ คือ ความสงบใจและความสุขความเจริญ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้วโดยทำและปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะได้รู้ได้เห็นตามที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตนเองทั้งสิ้นว่า ผู้ใดทำอย่างใดย่อมได้รับผลอย่างนั้น ตั้แต่ครั้งพุทธกาล พระราชามหากษัตริย์จนถึงคนยากจนอนาถา ถ้าหากได้ทำการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะทำให้ส่งผล คือ ความสุขใจในโภคทรัพย์ ร่ำรวยเงินทองและยศฐาบรรดาศักดิ์ โชคลาภวาสนา เกียรติยศและชื่อเสียง ย่อมเกิดจากกุศลผลบุญที่ตนเองได้กระทำการบูชาต่อพระรัตนตรัยอันประเสริฐ และเป็นผลส่งให้ถึงความสุขอันบริสุทธิ์สะอาด คือ พระนิพพาน อันเป็นความสุขทั้งโลกียธรรมและโลกุตตระธรรม ซึ่งก็ส่งผลให้ท่านผู้ได้กระทำการบูชาได้รับผลเช่นนั้นจริง ๆ ไม่มีเปลี่ยนแปลง
ท้าวความก่อนสร้างระฆังหลวง
ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์และพุทธศาสนิกชน ญาติโยมได้ร่วมกันสร้างพระวิหารทำด้วยไม้สักขึ้นแล้วหลังหนึ่งซึ่งมีขนาดความกว้าง ๑๔.๕๐ เมตร (๒๕ ศอก) ยาว ๒๔.๕๐ เมตร (๔๑ ศอก) ซึ่งตั้งใจให้เป็นที่ประดิษฐานพระหยกเขียวและพระพุทธรูปที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระองค์เล็กองค์ใหญ่เอาไว้ในพระวิหารหลังนี้เพื่อเป็นที่ปลอดภัยในอนาคตกาล เมื่อเริ่มทำการก่อสร้างแล้ว ได้ทำการแกะสลักเสาไม้ รวมทั้งขื่อ แป บานประตู บานหน้าต่างและหน้าบรรณด้วยไม้สัก ได้สร้างโครงสร้างด้วยเหล็กและปูนในส่วนชั้นล่างอย่างแข็งแรง ในการก่อสร้าง ท่านพระครูปัญญาธรรวัฒน์(ครูบาอินทร
ปัญญาวัฑฒโน) ได้เป็นผู้ออกแบบและเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเอง โดยออกแบบให้เป็นศิลปะแบบล้านนาและให้เป็นศิลปะในยุคหริภุญชัยย้อนยุค ได้เริ่มทำการก่อสร้างวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวันพญาวัน ในเทศกาลมหาสงกรานต์ปีใหม่เมืองเหนือ ในวันนั้นได้เริ่มทำการก่อสร้าง วางศิลาฤกษ์ หลุมเสาเอกได้นำพระสกุลลำพูนลงบรรจุไว้ในหลุมศิลาฤกษ์ ยาติโยมพุทธบริษัทเป็นจำนวนมากได้มาร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีการได้ผ่านไปโดยความเรียบร้อย ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ นั้น ได้ทำการก่อสร้างฐานรากโดยใช้อิฐก่อเป็นแบบหลุมฐาน คานคอดิน โดยไม่ใช้ไม้แบบเพราะเป็นการสิ้นเปลืองและไม้แบบแพงมาก ได้ใช้รถผสมปูนจากโรงงานมาเทปูน ได้ซื้อปูนเป็นคันรถเพื่อเทเสาตอม่อ เมื่อคานคอดินเสร็จแล้ว จึงได้ทำการเทพื้นให้เป็นปูนเนื้อเดียวกันทั้งหมด โดยสิ้นปูนไปประมาณ ๖๐ คันรถ หลังจากนั้นก็ได้ก่อแบบเสาด้วยอิฐมอญเป็นแบบโดยมีเหล็กขนาด ๑ นิ้ว ข้ออ้อย ๒๔ เส้นเป็นไส้เหล็กปลอก ๓ หุน ขนาด ๒.๕ เซนติเมตร เป็นปลอกรัดเหล็ก และได้ทำการเทพื้นชั้นบน คาน และเสาปูนพร้อมกันเหมือนโต๊ะวางซ้อนกับพื้นชั้นล่างโดยใช้รถเครน หมดปูนประมาณ ๕๕ คันรถ เมื่อเทเสร็จก็ได้ทำแบบเหลี่ยมปูนซุ้มหน้าต่างชั้นล่าง โดยทำการแยกชิ้นส่วน แต่ละชั้นทำแบบให้สำเร็จภายนอกเสียก่อนแล้วจึงยกขึ้นไปประกอบตามซุ้ม ซึ่งขั้นตอนการทำแบบอย่างนี้ทำให้ลดขั้นตอนงานลงไปได้มาก คือ ไม่ต้องตั้งแบบก่ออิฐ จับเหลี่ยมฉาบ ฉาบปูน ทำจากข้างนอกและยกไปประกอบก็เทปูนลงไปในภายใน เป็นแบบไปในตัวเสร็จ ย่นระยะการทำงานไป ๓ – ๔ ขั้นตอน และย่นระยะงานไปเป็นปีเลยทีเดียว
ต่อจากนั้นก็เริ่มยกเสาไม้ที่แกะไว้ขึ้นสู่วิหารในวันพญาวัน ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ วันสงกรานต์ปีต่อมา ซึ่งการทำวิหารหลังนี้ทำไม่เหมือนใคร วิศวกรที่จะทำแบบนี้ต้องแม่น เพราะเสาไม่ได้ขึ้นหมดทีเดียวเป็นแผง แกะได้เท่าไรก็ยกขึ้นเท่านั้น ซึ่งก่อนการก่อสร้างท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ได้ลองให้ช่างมาประมาณการก่อสร้าง บริษัทและวิศวกรมาคำนวณ
– ๒ –
แล้ว บอกท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ว่า “ถ้าจะให้ผมรับเหมาผมจะรับได้ในราคา ๔๕ ล้านบาท” สองบริษัทเหมือกัน อีกหนึ่งบริษัทประมาณการไว้ที่ ๕๐ ล้านบาท ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ก็เลยบอกช่างและบริษัทเหล่านั้นไปว่า “อาตมาไม่มีเงิน
มากมายปานนั้น เงินที่จะสร้างก็ได้จากองค์ผ้าป่าและองค์กฐินที่ญาติโยมได้นำจตุปัจจัยมาร่วมทำบุญ ไม่มีเงินกองโตขนาดนั้น “ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงต้องลงมือทำเอง โดยอาศัยประสบการณ์จากการที่มีญาติฝ่ายโยมพ่อซึ่งเป็นช่างพื้นเมืองมาแต่โบราณ และท่านพระครูก็ได้เคยอยู่ร่วมงานกับท่านเหล่านั้น เช่น สล่าพ่อหนานดี ธรรมนันท์ , พ่อหนานแก้ว ชนะศึก , นายกรีฑา กรรมสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ถ่ายทอดวิชาช่างพื้นบ้านให้กับท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ จึงได้ตัดสินใจสร้างพระวิหารหลังนี้ขึ้น ซึ่งท่านก็ไม่เคยสร้างที่ไหนมาก่อน ท่านได้เขียนแบบเอง ออกแบบเองทุกอย่าง เขียนเพียงแบบโครงสร้าง ส่วนลวดลายและแบบซุ้มประดับต่าง ๆ อยู่ในสมองของท่านพระครูทั้งสิ้น
ในการสร้างพระวิหารด้วยไม้หลังนี้ท่านพระครูตั้งใจทำเพื่อฝากเอาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาวิชาการเก่า ๆ การต่อไม้ด้วยไม้และการแกะสลักไม้ ซึ่งต้องให้ลงตัวพอดีตอนที่จะต่อกันเมื่อเวลายกขึ้นประกอบ ซึ่งเป็นงานที่ยากมาก หาคนทำได้ยาก ในการแกะสลักเสาไม้ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ช่างพื้นเมืองบางคนพอมาเห็นเสาไม้ซึ่งมีขนาดใหญ่โต เพียงลำพังคิดที่จะยกขึ้นตั้งก็นับว่าลำบาก ต่างก็พูดกันว่า “แล้วตุ๊เจ้าจะยกเอาเสาไม้ไปตั้งไว้เป็นเสาวิหารได้อย่างไร? รับรองว่าพังแน่ ๆ !! แถมยังมาแกะเสาไม้อีก เวลาพลิกจะพลิกแต่ละด้านได้อย่างไร แค่งัดยกขึ้นก็ไม่ไหวแล้ว แถมยังแกะลายดอกอีก พัง..ต้องพังแน่ ๆ” ช่างบางคนไม่เข้าใจก็สบประมาท บางคนก็พิศวงงงงวยว่า เสาไม้ขนาดนี้ท่านพระครูไปเอามาจากไหน? ทำไมมันยังมีเหลืออยู่ เป็นไม้ถูกต้องหรือเปล่า? หรือเป็นเพราะอิทธิพลอะไรจึงนำไม้มาได้?
เรื่อง พระเขียวโขง
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ได้ทำการและสลักพระพุทธรูปองค์หนึ่งขนาดหน้าตัก ๑๙ นิ้ว ด้วยหินสีเขียวจากแม่น้ำโขง ซึ่งเกิดจากนิมิตของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ ในคืนวันหนึ่งได้มีเสียงบอกในขณะที่ท่านนั่งสมาธิว่า “ให้สร้างพระพุทธรูปด้วยหยกขนาด ๑๙ นิ้ว ค้ำบ้านค้ำเมืองไว้ในเมืองลำพูนเพราะกาลบัดนี้หาพระดี ๆ ไว้ในอารามก็นับว่ายาก คนใจบาปทำลายไปมากแล้ว” หลังจากที่ท่านได้ออกจากนิมิตแล้ว ท่านยังไม่เชื่อในทันที อยู่ต่อมาก็มีเสียงอย่างเดียวกันนี้ถึง ๓ ครั้ง ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงตัดสินใจไปแสวงหาหยกมาสร้างพระตามนิมิต เดินทางไปที่พม่า แม่สอด แม่สาย เมืองพลในพม่า แม่ฮ่องสอน แต่ก็ไม่พบหยกตามสีที่ต้องการ จนท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ท้อใจ และเล่าว่า “จะให้อาตมาสร้างแต่ทำไมหาหยกยากเหลือเกินเดินทางหาหลายที่ก็ไม่พบ ไม่สร้างแล้ว ลำบากเหลือเกิน” จนอยู่มาวันหนึ่งโยมข้างวัดสันป่ายางหลวงได้มาบอกว่า ที่อำเภอเชียงของได้มีช่างนำหินสีเขียวจากแม่น้ำโขงมาแกะเป็นพระ ขอนิมนต์ไปดู เมื่อไปดูจึงเห็นสีของหินตามที่นิมิตบอก จึงเดินทางไปพร้อมกับช่างไปบ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของติดแม่น้ำโขง ได้พบหินก้อนหนึ่งพอทำพระขนาด ๑๙ นิ้วได้ จึงตกลงซื้อหินและจ้างช่างที่อำเภอเชียงของเป็นผู้แกะ ตั้งแต่เริ่มแกะพระ ช่างปลูกเพิงด้วยหญ้าคาเพื่อแกะพระ อยู่ต่อมานกนางแอ่นบกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นตาลหรือถ้ำที่สูง ๆ ได้ลงมาอาศัยทำรังบนหลังคา ๒ ตัวผัวเมีย และได้อาศัยอยู่ในขณะที่ทำเพิงแกะพระเรื่องมาจนไข่และออกลูก ๓ ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก และพระโขงเขียวช่างได้ทำการแกะสลักนาน ๙ เดือนพอดี จนเมื่อช่างได้แกะแล้วเสร็จ ท่านพระครูและญาติโยมศรัทธาสาธุชนทุก ๆ ทิศ ได้ไปร่วมอาราธนาพระหยกเขียวโขงนี้ที่อำเภอเชียงของเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ในวันที่พระได้เดินทางออกจากเชียงของมานั้นได้ผ่านอำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่ใจ อำเภอพาน เมื่อเดินทางเข้าสู่อำเภอพาน พี่น้องในอำเภอพานได้อาราธนาพระหยกเขียงโขงเข้าสู่วัดเกตุแก้วการาม โดยขบวนแห่ต้อนรับใหญ่โตมโหฬาร มีขบวนช่างฟ้อน ขบวนนำผู้เฒ่าผู้แก่ นำหน้าด้วยฆ้องกลอง มโหรี ปี่พาทย์ และต้องรับพี่น้องชาวลำพูนด้วยมิตรไมตรีจิตจากพี่น้องในอำเภอพาน ซึ่งนำโดยคุณประภาส คุณลินจง วีระพันธ์ และท่านพระครูเจ้าอาวาสวัดเกตุแก้วการาม พี่น้องอำเภอพานในตระกูล”จันทร์คำ”และพี่น้องทุก ๆคนได้ให้การต้อนรับคณะพี่น้องชาวลำพูน
– ๓ –
อย่างอบอุ่น ด้วยอาหารกลางวัน ซึ่งพี่น้องชาวลำพูนต้องขอขอบพระคุณในมิตรไมตรีจากท่านพระครูเจ้าอาวาสวัดเกตุแก้วการามและพี่น้องศรัทธาวัดเกตุแก้วการาม ไว้ ณ ที่เป็นอย่างสูง
เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหารกลางวันแล้ว เราชาวลำพูนทุก ๆ คนจึงได้ร่ำลาพี่น้องชาวอำเภอพาน ออกเดินทางต่อเข้าสู่จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูนโดยลำดับ เมื่อมาถึงบริเวณดอยขุนตาล พี่น้องชาวลำพูนได้ตั้งขบวนแห่ต้องรับพระหยก
เขียวโขงกันอย่างเนืองแน่น ขบวนรถที่ไปรับพระและขบวนรถที่ไปต้อนรับมีความยาวประมาณ ๒ กิโลเมตรเลยทีเดียว จากดอยขุนตาลมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองลำพูน ที่อนุสาวรีย์พระแม่เจ้าจามเทวี พี่น้องศรัทธาวัดสันป่ายางหลวง พี่น้องชาวลำพูนและสาธุชนทั้งหลายทั่งประเทศไทยได้มาร่วมชักลากพระหยกเขียวโขงในวันนั้นเป็นขบวนยาวเหยียดเหนือปรากฎการณ์และเหนือคำบรรยายใด ๆ ที่จะสรรหามาแปลออกเป็นภาษาเขียนได้ ช่างตรึงตา ตรึงใจ งดงาม ในสามัคคีธรรมชักลากพระในวันนั้นได้ ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ที่ปรากฏว่า พระได้เข้าสู่วัดและเข้าสู่ที่ตั้งหน้าโบสถ์ในเวลา ๑๙.๑๙ นาฬิกา พอดี ซึ่งจะขอลำดับเหตุการณ์ทั้งแต่เริ่มสร้างพระหยกเขียงโขงว่าเกี่ยวข้องกับเลข ๙ อันเป็นเลขมงคลดังต่อไปนี้
ความอัศจรรย์ของพระเขียวโขง
(๑)พระหยกเขียวโขงมีขนาดความกว้างของฐาน ๑๙ นิ้ว
(๒)ความสูงจากฐานถึงยอดโมลี ๓๙ นิ้ว
(๓)สร้างนานจนสำเร็จ ๙ เดือน
(๔)เวลาลงสรงน้ำโขงขอบคุณต่อเทวดาฟ้าดินและพญานาค ๑๙.๙ นาที
(๕)ในระยะเวลาที่สร้างนกนางแอ่นซึ่งอยู่ที่สูงแต่กลับมาทำรังในขณะที่สร้างจนเกิดลูก ๓ ตัว
(๖)ในขณะที่อัญเชิญพระหยกเขียวโขงจากบ้านช่างลงสรงน้ำโขง ฝูงนกนางแอ่นจำนวนเป็นพัน ๆ ตัวบินวนทักษิณาวัตร
พระหยก เป็นที่อัศจรรย์
(๗)พี่น้องชาวอำเภอพานจัดขบวนต้อนรับอย่างอบอุ่นและยิ่งใหญ่อย่างที่ชาวลำพูนลำพูนนึกไม่ถึง
(๘)พระเข้าสู่เมืองลำพูนและเข้าสู่วัดสันป่ายางหลวงในเวลา ๑๙.๑๙ นาฬิกา
(๙)สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(๑๐)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ได้เสด็จมากราบไหว้พระหยกเขียวโขง ณ วัดสันป่ายาง
หลวง ซึ่งเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ เวลาที่มาถึงวัด ๑๙.๐๐ นาฬิกา
(๑๑) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ ของประเทศไทย
(๑๒)พระหยกมาจากหินหยกในแม่น้ำโขง แต่ที่อัศจรรย์ก็คือ ไม้เสาตะเคียนทั้งหมดเป็นไม้อยู่ในแขวงหลวงน้ำทาของสา
ธารณรัฐประชาชนลาว ซึ่งแปลกตรงที่ว่า พระและไม้เป็นของเมืองลาวเหมือนกัน
ด้วยเหตุและปรากฏการณ์เช่นนี้ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ จึงได้ดำริสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระหยกเขียวโขงเป็นการเฉพาะ จึงได้เริ่มทำการก่อสร้างพระวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน
เรื่องไม้ทำวิหาร
เมื่อพระหยกเขียวโขงได้เข้าสู่วัดสันป่ายางหลวงแล้ว พระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงได้วางแบบ เขียนแปลน บางวันการเขียนแบบท่านต้องใช้สมองและการเพ่งมาก ท่านทำไม่ไกว เห็นท่านบอกว่า “หัวสมองมันตื้อ คิดอะไรไม่ออกแล้ว” ท่านก็หยุด
ไปนั่งทำสมาธิ แล้วท่านก็มาทำการเขียนแบบต่อจนแบบสำเร็จ ท่านจึงมานั่งคิดเรื่องไม้แต่ละชิ้น แต่ละส่วนว่าจะใช้ไม้เท่าใด? ขนาดไหน? เขียนใส่สมุดไว้เป็นอย่าง ๆ จนในที่สุดท่านก็ได้ไปซื้อไม้สักที่โรงเลื่อยสุขสวัสดิ์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการซื้อไม้สักซึ่งทางโรงเลื่อยได้นำเข้ามาจากประเทศพม่าเป็นจำนวนเงินร่วม ๒ ล้านบาท อยู่ต่อมาพอเริ่มทำการแต่งเสาไม้
– ๔ –
สักก็มีปัญหาเกิดขึ้น คือ ไม้สักแต่ละต้นไม่เท่ากัน ถ้าจะให้เท่ากันต้องกลึง ต้นที่ใหญ่ต้องกลึงให้เท่าต้นเล็ก เมื่อทำเช่นนี้เสาแต่ละต้นจึงจะเท่ากันและสวยงาม แต่เสาทุกต้นก็จะเล็ก จะเสียเนื้อไม้ ต้นใหญ่ที่ถูกกลึงออกเป็นการสูญเสียเนื้อไม้สัก เนื้อไม้สักซึ่งจะนับก็เป็นเงินเป็นทองทั้งหมด จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงได้ชวนญาติโยมไปดูไม้ที่โรงเลื่อยใหม่ ปรากฏว่าโรงเลื่อยได้นำไม้ตะเคียนทองเข้ามาเป็นจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ ตรงสวยงาม จึงถามทางโรงเลื่อยว่า “นำไม้มาจากที่ใด?” ทางโรงเลื่อยบอกว่า “เป็นไม้เมืองลาว” ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงตัดสินใจซื้อไม้ตะเคียนทองเพื่อทำเป็นเสาวิหาร ซึ่งได้ทำการเลื่อยที่โรงเลื่อยสุขสวัสดิ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลำดับมา จนได้เสาไม้ตะเคียนครบ ๒๐ ต้น ไม้หมดโรงเลื่อยพอดี เป็นที่น่าคิดว่า พระหยกเขียวโขงได้จากแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ในเขตของลาว ได้ตะเคียนเป็นไม้ใหญ่ก็อยู่ในเมืองลาวเช่นเดียวกัน ชะรอยว่ารุกขเทวดาที่สิงสถิตย์อยู่ในต้นไม้ตะเคียนทองคงจะรู้ความประสงค์ของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ ไม้ทุกต้นที่โรงเลื่อยในขณะนั้นท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์และคณะศรัทธาวัดสันป่ายางหลวงซื้อไว้หมด ไม่ได้กระจัดกระจายไปที่ใด รวมกันเป็นพระวิหาร ซึ่งเป็นเสมือนว่าเทวดาหมู่เดียวกันก็อยากจะอยู่ร่วมกัน และยังเป็นต้นไม้ใหญ่ ๆ ได้อยู่ในวิหารอันเป็นสถานที่บูชา เป็นที่ประดิษฐานพระหยกเขียวโขงบูชาพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าด้วย จึงมีความปรารถนาจะอยู่ร่วมกันไม่พรากจากกัน ถ้าสมมุติว่า ก่อนหน้านั้นทางโรงเลื่อยได้ทำการผ่าไม้ตะเคียนไปเสียก่อน วิหารหลังนี้คงไม่มีไม้และคงไม่ได้ไม้ใหญ่ ๆ เช่นนี้ไว้เป็นเสาวิหาร ญาติโยมพุทธบริษัทก็คงจะไม่ได้เห็นไม้ใหญ่ ๆ เช่นนี้อีกในอนาคตกาล คงเป็นด้วยอิทธิฤทธิ์ของรุกขเทวดาที่เขาคงไม่ปรารถนาที่จะให้ที่อยู่ของเขาเป็นไม้แผ่นเล็กแผ่นน้อยแน่นอน จากวันนั้น (ปี ๒๕๓๙) จนถึงวันนี้ (ปี ๒๕๔๗) ไม่มีการนำไม้ซุงเข้ามาในประเทศได้อีกเลย เนื่องจากมีการตกลงระหว่างประเทศให้นำเข้ามาได้เฉพาะไม้ที่แปรรูปแล้วเท่านั้น
จึงเป็นเหมือนบุญ เหมือนกุศลของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์และพี่น้องศรัทธาสาธุชนทุกท่านที่การตัดสินใจของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จากไม้สักมาเป็นไม้ตะเคียนนั้น ถูกต้องและเป็นที่น่าอัศจรรย์จริง ๆ
การเจาะเสาไม้
การสร้างวิหารแบบโบราณนั้นทำได้โดยความลำบากยิ่ง เพราะขั้นตอนในการทำนั้นมันยากอยู่ตรงที่ว่า การยกเสา การพลิกเสาแต่ละด้านรวมไปถึงการเจาะรูเสา ซึ่งต้องใช้ความพยายามและความสามารถมาก แต่เพราะความตั้งใจของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ แม้จะมีปัญหาอุปสรรคซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ประการที่ ๑ ท่านไม่มีเงินมากพอที่จะจ้างบริษัทรับเหมา
ประการที่ ๒ ถ้าให้ช่างรับเหมาแล้วจะทำได้ไม่ดีไม่สวยงาม
ประการที่ ๓ ลวดลายจะกลายเป็นสมัยใหม่ไปเสียหมด
ท่านจึงค่อย ๆ คิด ส่วนใหญ่เมื่อท่านคิดอะไรไม่ออก ท่านก็จะไปนั่งสมาธิและแก้ปัญหาได้ด้วยสมาธินั่นเอง
ในขณะที่เริ่มทำการแกะไม้เสานั้น ช่างบางคนได้มาที่วัดสันป่ายางหลวง ได้เห็นเสาซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ได้พูดคุยกันไปต่าง ๆ นา ๆ เช่น บางคนก็พูดว่า “ตุ๊เจ้าไปเอาไม้ที่ไหนมา? เป็นไม้ถูกต้องหรือเปล่า? เวลาจะยกพลิกเพื่อไสไม้จะทำอย่างไร? เวลาแกะแล้วจะเอาขึ้นไปตั้งบนวิหารสูง ๆ นั้นได้อย่างไร?” เป็นต้น
การทำไม้เป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าแกะสลักด้วยยิ่งลำบากมากเพราะต้องให้มีความพอเหมาะและลงตัวพอดีจึงจะทำให้ดูดีและงามตา ไม้ ถ้าตัดผิดหรือเจาะผิดก็จะเสียทันที จึงต้องระมัดระวังมากในเรื่องการเจาะและการตัด เมื่อท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ได้เขียนแบบเองโดยอาศัยประสบการณ์จากการอยู่วัดและได้เห็นสถาปัตยกรรมเก่า ๆ ของวัดที่มีรูปภาพถ่ายเก็บไว้บ้าง หรือได้รับการถ่ายทอดจากพ่อหนานแก้วผู้เป็นลุง และพ่อหนานดี ธรรมนันท์ ได้บอกไว้ ที่มีส่วนให้ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์มากที่สุดคือนายกรีฑา กรรมสิทธิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหมือนพี่ชายที่ได้ถ่ายทอดทุก ๆ อย่างให้ ท่านจึงตัดสินใจทำวิหารด้วยไม้หลังนี้เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเขียวโขงและฝากฝีมือไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาทั้งวิชาไม้ ลวดลาย และปูนปั้น
ทำนุ รัตนันต์
บันทึก ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
– ๕ –
เริ่มด้วยการเจาะเสาไม้ ไม้เสาใหญ่นั้นกว้าง ๖๕ เซ็นติเมตรโดยรอบ ยาว ๗.๕๐ เมตร เสาแต่ละต้นมีรูที่จะต้องเจาะตั้งแต่ ๔ รู เป็นอย่างน้อย จนถึง ๑๒ รู การเจาะนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะเมื่อเจาะลึกลงไปยิ่งลึกยิ่งยาก เพราะมือจับด้ามสิ่วเจาะไม่ถึง ถ้าคนไม่มีความเพียรรับรองท้อถอยและท้อใจเป็นที่แน่ทีเดียว เช่น เจาะรูขนาด ๖ x ๐.๐๕ นิ้ว ทะลุได้ จะใช้เวลา ๗ ถึง ๑๐ วัน โดยใช้สว่านเจาะนำไปก่อนหลาย ๆ รู แล้วค่อยใช้สิ่วเจาะลงไปจนกว่าจะทะลุ
วันหนึ่งท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ได้เรียกช่างแกะไม้ในวัดคนหนึ่ง ชื่อนายมิตร มาหาในเวลาเช้าที่เริ่มทำงานและถามนายมิตรว่า “ มิตร ! อาตมาคิดว่าเทวดาส่งเธอมาช่วยฉันนะ” นายมิตรก็งง ๆ แล้วถามย้อนท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ว่า
“ครูบาทำไมบอกผมว่าเทวดาให้ผมมาช่วยละครับ”
ครูบา “มิตร ฉันรู้ว่าเธอมีความสามารถนะมิตร”
นายมิตร “ครูบาจะให้ผมช่วยอะไรครับ”
ครูบา ”มิตร เธอมีเลื่อยสตีลใช่ไหม?”
นายมิตร ”มีครับ”
ครูบา ”ถ้าอย่างนั้นเธอลองเอาเลื่อยสตีลของเธอมาที”
วันนั้นนายมิตรก็กลับไปบ้านที่อำเภอแม่ทา แล้วก็กลับมาตอนบ่ายพร้อมด้วยเลื่อยโซ่สตีล ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จึงได้ทำการวัดเสาไม้ใหญ่ซึ่งเป็นรูขื่อเล็ก ขื่อใหญ่ แล้วก็ให้นายมิตรทำการเอาเลื่อยสตีลเจาะไม้ทันที เหมือนเทวดาโปรดอย่างที่ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์บอกแต่แรก นายมิตรทำการเจาะรูไม้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายจากเดิมที่ช่างและพระเณรได้ช่วยกันเจาะเป็น ๑๐ วัน เพียง ๑ – ๒ ชั่วโมงก็ได้เจาะรูเสาเสร็จ ๑ ต้น จากที่เป็นความยาก จนช่างไม้และพระเณรเจาะจนหลังขดหลังแข็ง ก็กลายเป็นนความง่ายดายเหมือนปลอกกล้วยใส่ปาก นี่คือผลของสมาธิที่ท่านพระครูเอามาใช้และใช้ได้จริง ๆ เสียด้วย
การพลิกเสาไม้เพื่อแกะสลัก
เสาใหญ่มีน้ำหนักเป็น ๒.๔ – ๒.๕ ตัน คนกี่คนจะยกไหว ช่างพื้นบ้านบางคนมาพูดกันว่า “ข้าว่า รับรองเสาต้องพังและแตกบิ่นแน่ ๆ พระครูปัญญาธรรมวัฒน์จะไปพลิกได้อย่างไร? ดอกที่แกะได้ทีละด้านต้องถูกงัด ลายดอกที่ท่านออกลายให้ช่างแกะ รับรองพังแน่ ๆ “ ท่านพระครูเมื่อได้ยินโยมมาพูดก็เฉย ๆ ท่านคงจะรู้ของท่าน เมื่อช่างแกะสลัก ๆ เสร็จ ๑ ด้านของเสา ท่านก็เรียกรถโฟลคลิฟท์ ซึ่งใช้สำหรับยกของของลูกศิษย์ที่มีอยู่ เช่น รถของคุณสุกิจ ทฤษฎีรักษ์ ร้านสินสุดาพาณิชย์ และรถของคุณโกวิทย์ เลขะวนิช มาช่วยยกเสาเอายางเก่ารถยนต์มารองหลาย ๆ เส้น รถก็ยกเสาขึ้น เอาไม้หมอนรอง ด้านหนึ่งสูง ด้านหนึ่งต่ำ และเมื่อได้จังหวะก็ยกด้านสูงขึ้นแล้วก็พลิกเสาไม้ เสาไม้ก็พลิกไปที่ยางรถยนต์รองรับ ทำอย่างนี้ไปทุก ๆ ด้านจนครบ ๔ ด้าน เมื่อแกะเสร็จเป็นที่น่าอัศจรรย์ คนก็เลยมาดูตอนพลิกเสาไม้ เลยต้องยอมรับว่า ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์เข้าใจหาวิธีพลิกไม้
การเคลื่อนที่เสาไม้จากที่แกะไปสู่ที่ตั้ง
เสาน้ำหนักเป็นตัน ๆ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ได้ทำให้ช่างพื้นบ้านเห็นว่า “คนเราทำอะไรต้องทำจริง ๆ ทำด้วยสมองและความคิด” การเคลื่อนย้ายเสา ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ไม่ใช้รถเครนเลย ใช้รถแฮนด์ลิฟท์ ซึ่งใช้บรรทุกลากของด้วยมืออยู่ข้างหน้าเสาไม้ โดยใช้รถแฮนด์ลิฟท์ยกขึ้นวางก่อน แล้วรถโฟลคลิฟท์ก็มายกข้างหลัง ดันรถแฮนด์คลิฟท์ไปข้างหน้า คนขับรถแฮนด์ลิฟท์ บางทีก็ขึ้นนั่งบนหัวเสาไม้สบายเลย คอยหมุนพวงมาลัยไปซ้ายไปขวา พระเณรเป็นผู้ขับ เพราะรถโฟล
คลิฟท์คอยดันอยู่ข้างหลังให้ไปข้างหน้า เป็นที่สนุกสนานไปเลย จนถึงฐานวิหาร
บางคนถึงกับพูดว่า “นี่หนอปัญญาคน”
– ๖ –
การยกเสาไม้ขึ้นตั้งบนฐานเสาปูน
เสาใหญ่น้ำหนักมาก ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์จำเป็นต้องใช้รถเครนยก บางคนก็พูดว่า ท่านพระครูจะยกเสาขึ้นตั้งอย่างไร? ถึงขึ้นได้ก็ได้ในท่าที่ไม้นอนขวางขึ้นไปเท่านั้น จะเอาไม้ตั้งตรงจะทำอย่างไร? จะต้องใช้คนมากมายแน่นอน ฯลฯ
เรื่องนี้ก็มีเทคนิค ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์เป็นพระไม่ค่อยพูดมาก ท่านจะทำงานโดยใช้สมองอยู่เสมอ
การยกเสาไม้ให้ตั้งขึ้น ถ้าไม่มีเทคนิคที่ดีแล้วตอนรถเครนยกจะมีปัญหาลวดสลิงหรือผ้าใบ ตอนยกเสาขึ้นจะบาดได้ ทำให้ไม้ที่แกะลวดลายเสียหายมาก และจะเสียหายไม่ใช่น้อย ๆ เลย ลายดอกจะแตก หัก บิ่น เสาไม้จะถูกลวดสลิงบาดแน่นอน ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ขอรถเครนลูกศิษย์มาช่วย คือ รถของคุณสำราญ นวชัย มาช่วยยกทุก ๆ ครั้ง ซึ่งคุณสำราญก็ได้ให้รถมายกอำนายความสะดวกทุกเมื่อ ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์บอกว่า การยกที่ว่ามีเทคนิคนั่นก็คือ การเจาะรูเสาไม้แต่ละต้นต้องมีรูทะลุ ๑ รู โดยห่างจากปลายเสาไม้ลงมาประมาณเท่าขื่อเล็ก( ๒ เมตร) รูทะลุที่ว่านี้แหละ คือ เทคนิคของท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ในการยกเสาให้ตั้ง ถ้ารถเครนใช้ลวดสลิงยก ก็ใช้กระสอบหนา ๆรอง หรือใช้หมอนเก่า ๆ รองลวดเพื่อไม่ให้ลวดบาดไม้ ยกขึ้นไปวางไว้ชั้นบนวิหารก่อน เมื่อถึงตอนจะยกท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ก็ให้ช่างเอาลวดสลิงหรือผ้าใบยกของรถเครนสอดเข้าไปในรูไม้ที่เจาะทะลุและร้อยห่วงเข้าด้วยกัน ก็ยกส่วนปลายของเสาขึ้น เสาก็ขึ้นตั้งได้โดยง่าย บางคนก็ว่าต้องใช้คนมากแน่ ๆ แต่ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ใช้คนแค่ ๖ คน คือ
(๑)คนขับรถ ๑ คน (๒)คนบอกทิศทางและตำแหน่งวางเสา ๑ คน (๓)อีก ๔ คนคอยพยุงโคนเสาเท่านั้น และ ๔ คนนี้ก็คอยเอาเหล็กแป๊บที่ได้เตรียมไว้คอยพยุงเสาไม้ค้ำยัน ๔ ด้าน ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการยกเสาโดยตั้งได้อย่างเรียบร้อย
ส่วนฐานของเสาไม้ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ออกแบบไว้เป็นเอกลักษณ์ของท่านอย่างแท้จริง ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร และก็ไม่มีใครไปบอกท่าน บางคนเป็นวิศวกร พอมาเห็นท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ทำถึงกับงง และซักถามท่าน ท่านก็บอกให้เป็นวิทยาทานโดยไม่ปิดบัง ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์บอกว่า เสาไม้ส่วนมากช่างจะใช้เหล็กหูกระต่ายคีบ ๒ ด้าน ใส่น๊อตยึด ในสมัยใหม่ช่างที่ทำบ้านด้วยไม้ใช้เจาะกลางเสาไม้ เอาเหล็กแป๊บเสียบเข้าไป แล้วยกเสาฝังไปในเหล็กอีกตัวที่ใหญ่กว่าที่ฝังเข้าไว้ตอนเทเสาตอม่อ ช่างใมัยใหม่นิยมทำแบบนี้เพระาไม่เห็นเหล็กหูกระต่ายทั้งสองข้างของเสาไม้ เป็นการซ่อนเคล็ด แต่การทำเช่นนี้นาน ๆ ไป เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับเสาไม้ คือ จะทำให้
๑.เสาไม้แตกง่าย
๒.ปลวกและมดชอบเข้าไปเจาะเสาได้ตอนเสาเป็นรอยแตก
กรรมวิธีนี้วัดทั่ว ๆ ไปที่ทำด้วยเสาไม้ช่างจะแนะนำให้ใช้วิธีนี้เป็นส่วนมากแทบจะทุก ๆ ภาคของประเทศไทย แต่ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ทำแหวกแนวกว่าวิธีที่ว่ามานี้ ท่านใช้เหล็กฉากเชื่อมรอบตีนเสา ใช้เหล็กขนาด ๑ นิ้ว ทำเป็นเหมือนตะปูตีเสียบเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ ๖ นิ้ว ทำ ๔ จุด แล้วใช้เชื่อมต่อกับเหล็กด้านนอกที่ฝากไว้กับเสาเหล็ก แล้วปูไม้กระดานพื้นทับก็จะไม่เห็นเหล็กฉากรัดตีนเสาเลย ส่วนน้ำหนักของเสาซึ่งมีจำนวนมากกดลงสู่พื้น ซึ่งแต่โบราณไม่นิยมฝังเสา ถ้าทำวิหารก็จะเอาเสาไม้วางไว้เฉย ๆ โดยใช้น้ำหนักกดทับลงพื้น ก็ใช้กันมาอย่างนี้ แต่ในปัจจุบันช่างก็จะพลิแพลงเพื่อความแข็งแรงของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ให้คงทนยาวนาน
การที่ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ทำฐานรากแบบวิธีทำแบบข้างนอกแล้วใช้ปูนหล่อก็ดี การเจาะเสาไม้โดยใช้เลื่อยสตีลก็ดี การยกไม้เคลื่อนที่ไปสู่ที่ตั้งก็ดี จากระยะเวลาที่ต้องใช้หลายปีมาเป็นในขณะนี้เพียง ๒ ปี ซึ่งถ้าเป็นระยะเวลาจริง ๆ ก็คงไม่หนี ๔ ปีแน่นอน จากเหล็กที่เคยซื้อใช้ทั้งหมด กิโลกรัมละ ๑๒ บาท ซึ่งใช้เหล็กทั้งหมด ๑ – ๒ แสนบาท ปัจจุบัน(พศ.๒๕๔๗) เป็นกิโลกรัมละ ๒๘ บาท เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ๑ เท่ากว่า ๆ จะเห็นว่าท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ทำเวลายาวให้สั้นลง ทำเงินที่ต้องจ่ายมากให้น้อยลง และท่านใช้ความรู้ สมอง สติปัญญาที่มีอยู่ทำเพื่อฝากไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังจริง ๆและทำให้คุ้มค่าเงินของศรัทธาญาติโยมทุกบาททุกสตางค์จริง ๆ
ทำนุ รัตนันต์ บันทึก ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗
– ๗ –
การทำวิหารไม้ที่แปลกประหลาด
ท่านสาธุชนที่ได้มาเยี่ยมวัดสันป่ายางหลวง คงจะได้เห็นว่าปัจจุบันนี้ วิหารได้เริ่มสร้างและวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน วันพญาวันมหาสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นต้นมา หลังจากการวางศิลาฤกษ์แล้ว ท่านครูบาได้ทำการก่อสร้างอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งผู้เขียนได้สังเกตมาตลอด
๑.ท่านไม่ได้สร้างวิหารที่ไหนมาก่อน แต่ก็เป็นช่างได้และได้ดีเสียด้วย
๒.การเขียนแบบท่านก็เขียนเอง ซึ่งถ้าเห็นท่านเอากระดาษโปสเตอร์มาเขียน ซึ่งดูแล้วก็ทำแบบลวก ๆ จะชัดเจนหน่อยก็ดูจะมีแต่พวกคาน เสา ขื่อ แป และตำแหน่งสำคัญ ๆ เท่านั้น ส่วนองค์ประกอบ เช่น ลายซุ้มปูนปั้นก็ดี ลายซุ้มหน้าต่าง หน้าบัน ฯลฯ ก็ดี ไม่เห็นท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์เขียนไว้เลย ต้องถามท่าน ท่านครูบาบอกว่า “ไม่ต้องเขียน ยุ่งยาก เสียเวลา มันอยู่ในสมองแล้ว ถึงเวลาทำเลยไม่ต้องมีแบบ” ทุก ๆ คนเลยต้องเป็นงง ! ด้วยกันทั้งหมด ด้วยประการะฉะนี้ จนงานออกมาถึงปัจจุบัน ดังที่ทุก ๆ ท่านเห็นความวิจิตร พิสดาร ที่ไม่มีใครเหมือนและก็ไม่เหมือนใคร ด้วยประการทั้งปวง
๓.การเทปูน ก่อปูน แกะไม้ ท่านครูบาอินทรเขียนเอง ทำเอง ออกแบบเองทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะอะไร ๆ ทั้งหมด ต้องอยู่ที่ท่านครูบาบอกหรือสั่งให้ทำ ท่านทำงานหนักมากทั้งสมองและกำลังกาย วัน ๆ แทบไม่มีเวลาพัก และทุก ๆ คนมักจะได้ยินท่านพูดเสมอว่า “พวกเรามาช่วยกันทำประวัติศาสตร์เมืองหละปูนไว้ให้พระพุทธศาสนา”
๔.การย่นเวลาการทำงาน งานบางอย่างต้องทำนานกว่าจะเสร็จ ท่านได้นึกแล้ว ท่านได้พิจารณาแล้ว ก็มาทำย่อขั้นตอน การทำให้น้อยลงประหยัดได้ทั้งเวลาและเงินที่ใช้
๖.ทำวิหารซึ่งไม่เหมือนใคร? ข้อนี้เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้เขียนมาก คือ ท่านครูบาทำวิหารจากด้านหลังมาสู่ด้านหน้า ถ้าทุกท่านเห็นการทำงานของท่านแล้วก็จะรู้ดีว่าเป็นจริงตามที่ผู้เเขียนเห็น การก่อสร้างโดยทั่วไป ต้องทำโครงสร้างไว้ก่อนจึงก่อขึ้นข้างบนได้ เช่น เสา ต้องขึ้นให้หมดเสียก่อนแล้วจึงจะต่อด้วยโครงหลังคา แต่ท่านครูบาทำแปลก คือ พอยกเสาเอกขึ้น เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๖ มีเสาตั้งโด่เด่อยู่เพียง ๒ ต้น
ผู้เขียนขอเล่าเรื่องวันยกเสาเอกไว้ ณ ที่นี้เพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงความดี บารมีและกุศลของท่านครูบา ดังนี้
๑๕ เมษายน ๒๕๔๕ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ – วางศิลาฤกษ์
๑๕ เมษายน ๒๕๔๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ – ทำพิธียกเสาเอกด้านหน้า ๒ ต้น
ในวันยกเสาเอกคู่หน้านั้นแดดร้อนมาก ประธานฝ่ายฆราวาส คือ คุณสมศักดิ์ บุญเปลื้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งท่านผู้มีเกียรติหลายจังหวัดได้มาร่วมพิธียกเสาเอกในวันนั้น ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุในเดือนเมษายน ทุก ๆ คนก็ร้อนแต่มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาที่จะเอาบุญ จะร่วมสร้างประวัติศาสตร์ในครั้งนี้
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๖ ในขณะที่ทุก ๆ คนเดินทางมาทำบุญดำหัวท่านครูบาได้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่อาจลืมเลือนได้ คือ เกิดมีพายุ ลมแรงมาก ทุก ๆ คนมองไปที่เสาเอกคู่หน้า เป็นสายตาเดียวกันหมด คือ กลัวเสาจะทานลมไม่ไหว เพราะมีแค่เหล็กแป๊บ ๔ อันค้ำยันอยู่เท่านั้น นอกนั้นไม่มีอะไรเลย ในขณะเดียวกันนั้นกระแสลมได้หอบเอาพายุลูกเห็บก้อนเท่ากำปั้นมาด้วย ฝนตกพร้อมกับมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ลมแรงมาก ประมาณเกือบ ๒ ชั่วโมง เป็นที่อัศจรรย์!! เสายืนถ้าแดด ท้าลม ท้าลูกเห็บ ยืนตั้งโด่เด่อยู่อย่างนั้นไม่หวั่นไหว แต่บริเวณหน้าวัด ต้นไทรใหญ่ถูกลมพายุหมุนพัดล้มลงนอนเอียงกระเท่เร่ บ้านโยมรอบวัดบางบ้านหักโค่นเป็นสวน ๆ กระเบื้องมุงหลังคาเปิงไปหลายบ้าน เปียกหมด เกิดวาตภัยถล่มเมืองลำพูน โดยรอบ เสียหายทั้งบ้าน ทั้งวัด ทั้งโรงเรียน อาคารสถานที่ราชการพังเสียหาย เสาไฟฟ้าหักโค่นล้มระเนระนาด แต่ภายในวัดไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไรเสียหาย มีแต่บานหน้าต่างเสียหายเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นก็มีแจกันดอกไม้ตกแตกเท่านั้น
ลูกเห็บตกลงมาขาวโพลนไปทั่ววัด น้ำฝนพัดเอามารวมกันเป็นกอง ๆ เป็นเหมือนเทพยาดาฟ้าดินโปรยข้าวตอกดอกสวรรค์ลงมา ถ้าสมมุติว่าลูกเห็บตกในเย็นวันที่ ๑๕ ตอนยกเสา อะไรจะเกิดขึ้น คงมองภาพได้ว่า รถยกเสียหาย คนงาน ช่าง ต้องหัวแตกหัวโนไปตาม ๆ กัน การยกเสาเอกในวันนั้นต้องยกเลิกหรือมีอุปสรรค เสียฤกษ์แน่นอน แต่ด้วยบุญ ด้วยบารมี การ
– ๘ –
ยกเสาเอกเป็นไปด้วยความเรียบร้อยผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นับเป็นปรากฎการณ์ที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งยังเป็นที่จดจำของคนบ้านสันป่ายางหลวงมิรู้ลืม
เมื่อการยกเสาเอกผ่านไป ท่านครูบาก็ได้สร้างวิหารต่อมาโดยเมื่อช่างแกะเสาได้อีก ๒ ต้น ก็ยกเสาขึ้นอีก จาก ๒ เป็น ๔ เป็น ๘ เป็น ๑๐ เป็น๑๒ เรื่อยมาโดยลำดับ ยกเสาขึ้นก็ใส่ขื่อใส่แปแล้วก็ตีฝ้าเพดาน ตีระแนง ด้านหลังก็ใส่ช่อฟ้าตามมาเป็นขบวนอย่างอัศจรรย์ ช่างวิศวกรที่มาแวะดูต่างก็มึนงงและสงสัยไปพร้อมกันว่า ท่านครูบาทำได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม่นเหมือนการทำวิหารแบบน๊อคดาวน์ ยกใส่ ยกใส่ ประกอบกันได้อย่างกลมกลืน ลบวิชาที่เขาเล่าเรียนมาหมด จนถึงปัจจุบันดังที่ทุก ๆ ท่านได้เห็นกัน ผู้เขียนจึงกล้ากล่าวได้ว่า นี่คือความเป็น”อัจฉริยะที่มีได้เฉพาะบุคคลบางคนเท่านั้น”
สิ่งที่ติดตามมาหลังจากสร้างวิหาร
วิหารหลังนี้ท่านพระครูบาตั้งใจเพื่อให้เป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปเองค์เก่า องค์ใหม่ องค์เล็ก องค์ใหญ่ เป็นที่รวบรวมเอาศิลปะหริภุญชัยไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยเฉพาะ “พระสกุลลำพูน” ท่านพระครูบาก็ได้เอาปัจจัยจากที่ญาติโยมได้ถวายเป็นส่วนตัวเช่าบูชาไว้ทีละองค์สององค์ สะสมมาเรื่อย ๆ นับเป็นเงินหลักล้าน แต่จะเป็นเลขอะไรข้าพเจ้าไม่อาจทราบได้
๑.พระแก้วยืน ศิลปะหริภุญชัยสมัยแรก สูง ๔ นิ้ว เป็นแก้วใสสะอาด
๒.ช้างแก้วศิลปะหริภุญชัยสมัยแรก สูง ๔ นิ้ว เป็นแก้วใสสะอาด
พระแก้วยืนกับช้างแก้ว ๒ สิ่งนี้จะออกจากเมืองลำพูนไม่ได้ ผู้เป็นเจ้าของเดิมมีคนจะมาซื้อเอาไปในราคา ๑๐ ล้านบาทเศษ แต่ผู้ขายไม่สามารถขายได้ต้องมีอันเป็นไปต่าง ๆ นา ๆ เกิดกับผู้เป็นเจ้าของ ต้องถูกสิ่งลี้ลับบังคับไม่ให้ขายออกจากเมืองลำพูนไป จนได้มีผู้มาบอกให้ท่านพระครูบาทราบ จึงได้เอามาเป็นสมบัติของวัดและของเมืองลำพูนสืบไป
๓.พระพุทธชัยมงคล ศิลปะหริภุญชัย(สร้างจำลอง) ซึ่งหายไปจากเมืองลำพูนนานมาก จนท่านพระครูบาสร้างจำลองขึ้นโดยคุณแม่สำลี ชพานนท์ ด้วยทอง เงิน นาค ฐาน ๑๙ นิ้ว
๔.พระพุทธสิกขี ศิลปะหริภุญชัย (สร้างจำลอง) ซึ่งหายไปจากเมืองลำพูนนานมาก จนท่านพระครูบาสร้างจำลองขึ้นโดยคุณแม่สำลี ชพานนท์ ด้วยทอง เงิน นาค ฐาน ๑๙ นิ้ว
๕.พระพุทธศิริรัตน์ นพ.ชาญวิทย์ – คุณเบญจพร และคณะสร้างถวาย
๖.พระพุทธศิริวัฒน์ คุณปรเมศ – คุณจินตภา บุญญารักษ์ สร้างถวาย
๗.พระสิงห์ คุณถนอม เดชศรี สร้างถวาย
๘.พระเสตังคมณีจำลอง คุณสุรพล – คุณประภาศรี สร้างถวาย
๙.พระพุทธจุฬามณี คุณเจริญ – คุณแสงทอง คำพรหม สร้างถวาย
พระพุทธจุฬามณีนี้แต่เดิมสมัยที่คุณสมศักดิ์ บุญเปลื้อง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้มาบอกให้ท่านพระครูบาทราบว่า ที่อำเภอพะเยามีหินสีเขียวสวยงาม ท่านพระครูจึงเดินทางไปดู ปรากฏว่าคุณนายโยมภิริยาท่านผู้ว่าฯได้พาเดินทางไปดูหินที่ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา จึงได้นำหินนั้นมาไว้ที่วัดสันป่ายางหลวง ในขณะที่นำมากองไว้ที่วัด ปรากฏว่าตอนกลางคืนโยมที่อยู่ใกล้วัดได้เห็นแสงสีเขียวปรากฏพุ่งขึ้น ตอนเช้าจึงมาบอกให้ท่านพระครูบาทราบ ต่อมา คุณป้าจันทร์นวล กันทะอุฌมงค์ บ้านป่าซางน้อย อำเภอป่าซาง ซึ่งนาน ๆ จะมาวัดสักครั้งหนึ่ง ได้มาเล่าให้ท่านพระครูบาฟังว่า คืนวันหนึ่งได้นอนหลับและฝันในเวลาใกล้รุ่งได้ยินเสียงประกาศว่า “จะมีการแห่พระเข้าวัดสันป่ายางหลวงมึงไม่ไปร่วมทำบุญหรือ?” คุณป้าจันทร์นวลจึงได้เตรียมตัวไปทำบุญ ในขณะที่จะออกจากบ้านได้มองไปบนท้องฟ้าปรากฏว่าท้องฟ้าแหวกเป็นช่อง ๔ เหลี่ยม มีคนใส่ชฎา ยื่นหน้าลงมาทั้ง ๔ ด้านและมีคนหนึ่งพูดว่า “ เน้อ! เน้อ ! (นี่ ! นี่!) เฮาจะเอาพระจุฬามณีหื้อแล้วเน้อ” แล้วก็โยนสิ่งหนึ่งลงมาจากท้องฟ้า เป็นดวงใส ๆ แล้วแสงนั้นก็พุ่งลงมาเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นแสงนั้นก็โตขึ้น ๆ จนมองเห็นชัดว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวมรกต คุณป้าจันทร์นวลก็รีบวิ่งมาที่วัด สุดท้ายพระองค์นั้นก็ได้ตกลงมาและหายไปในวัดสันป่ายางหลวง ในขณะนั้นก่อนที่คุณป้าจันทร์นวลจะได้เข้าวัดได้
– ๙ –
เห็นคนจำนวนมากมายมาร่วมขบวนพิธีอัญเชิญพระเข้าวัดได้เห็นหมู่ญาติ ๆ ที่ตายไปแล้วหลายคน ญาติเหล่านั้นก็พูดกับคุณป้าบัวผันว่า” อ๋อ มึงก็มาตวยกา” คุณป้าบัวผันสะดุ้งตื่นแล้วก็มาเล่าให้ท่านพระครูฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า
๘.๑.คุณป้าจันทร์นวลแทบจะกล่าวได้ว่า นานมากหลายปีกว่าจะมาวัดได้ครั้งหนึ่ง แต่ไฉนจึงฝันถึงเรื่องราวการสร้างพระซึ่งท่านพระครูบานำมา ยังไม่ได้สร้าง ยังไม่มีชื่อ
๘.๒.หินสีเขียวนี้อยู่ที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ตรงกับที่ท่านพระครูซึ่งท่านได้นึกไว้ว่า เกิดจากอำเภอจุน ควรจะใส่ชื่อว่า”พระจุนมณี” แต่เทวดาบอกป้าจันทร์นวลว่าจะเอาพระจุฬามณีให้ ก็เลยไดชื่อว่า”พระพุทธจุฬามณี” เพราะเป็นชื่อของสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ ดังคำว่า”พระเกศแก้วจุฬามณี”ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เทวดาอัญเชิญไปไว้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาในเทวโลก
ในการสร้างพระพุทธจุฬามณีนี้คุณเจริญ – คุณแสงทอง คำพรหม ได้เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย ซึ่งช่างที่อำเภอแม่สายเป็นผู้แกะ หินแข็งมาก จนช่างท้อใจ จนกระทั่งท่านพระครูบาต้องไปบอบกล่าว ขอต่อเทวดาอารักษ์ นำน้ำขมิ้นส้มป่อยไปประพรม ช่างจึงทำการแกะได้เพราะก่อนหน้านั้นทำไม่ได้ ใบมีดตัดหินเสียหายหลายชุด จนช่างท้อใจเป็นอันมาก
๙.พระเครื่องสกุลลำพูน – ท่านพระครูบาได้เช่าซื้อเก็บไว้
สิ่งทั้งหมดนี้รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาให้ท่านพระครูบาก็ดี หรือมีผู้นำมาให้ท่านพระครูบาก็ดี จะนำไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระเขียวโขงทั้งหมด เพื่อให้อนุชนคนรุ่งหลังได้ศึกษาต่อไป
พระนิลสมุทร
เป็นเรื่องแปลกอีกตอนหนึ่ง หลังจากที่ท่านพระครูได้อาราธนาพระหยกเขียวโขงมาสู่วัดได้ไม่นาน มีโยมจากจังหวัดชลบุรีได้มาที่วัดสันป่ายางหลวงและได้แสดงความจำนงต่อท่านพระครูบาว่า ผมชื่อคุณงาม นามสกุลวันจันทร์ ได้มีจิศรัทธาอยากจะนำพระพุทธรูปซึ่งได้สร้างจากแร่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ซึ่งคุณงามได้อยู่ที่เกาะล้าน ได้บอกกับท่านพระครูบาว่า ที่เกาะล้านมีแร่สีดำที่ชาวเกาะล้านนับถือมาก ชาวเกาะล้านจะไปไหนมาไหนทุกคนจะพกติดตัวอยู่เสมอ เรียกหินชนิดนี้ว่า”แร่เหล็กไหลเกาะล้าน” จนถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ท่านพระครูบาและคณะศรัทธาชาวลำพูน คณะศิษยานุศิษย์ได้เดินทางไปรับพระนิลสมุทรที่จังหวัดชลบุรี เมื่อถึงจังหวัดชลบุรีก็เดินทางโดยเรือทะเลจนถึงเกาะล้าน พัก ๑ คืน ในขณะพักอยู่ที่เกาะล้านก็ได้ทำพิธีบวงสรวงเทวดา เจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา รุ่งเช้าจึงเดินทางกลับลำพูน เมื่อถึงลำพูนแล้วจึงได้ทำพิธีตามแบบล้านนาไทย ที่อัศจรรย์ คือ
๑.พระเขียวโขงเกิดจากหินหยกในแม่น้ำจืด แต่พระนิลสมุทรเกิดจากทะเลน้ำเค็ม
๒.พระเขียวโขงเป็นเหมือนพระพี่ พระนิลสมุทรเป็นเหมือนพระน้อง
๓.พระทั้งสององค์เกิดจากน้ำเหมือนกัน
๔.เหมือนมีการนัดกันไว้ ซึ่งพอเกิดพระเขียวโขงก็เกิดพระนิลสมุทรไล่เลี่ยกันมาทำมุมทิศเหนือกับทิศใต้ แร่เกาะล้านเป็นแร่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวเกาะล้านบางคนอยากมีไว้ใช่ว่าจะมีได้ทุกคน บางคนไปหาแร่ทั้งวันหรือหลาย ๆ วันยังไม่ได้เลยก็มี แต่ถ้าหากบนบานศาลกล่าวและตั้งใจจริง ๆ จึงจะได้มาไว้เป็นสมบัติติดตัว ทุก ๆ คนเมื่อต้องการได้แร่ต้องไปบอกกล่าวต่อศาลเทพารักษ์ประจำเกาะก่อน คือ “ศาลเจ้าพ่อดำ” ซึ่งชาวเกาะล้านเคารพเชื่อถือมากและเป็นศาลพิทักษ์รักษาเกาะล้าน
คุณงามเล่าให้ฟังถึงถึงเรื่องแร่ชนิดนี้ว่า ในสมัยเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา มีนักการเมืองผู้มีอิทธิพลระดับประเทศรู้เรื่องแร่ชนิดนี้ได้นำไปให้ญี่ปุ่นตรวจดู จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ทราบ ทางญี่ปุ่นบอกนักการเมืองผู้นั้นว่าขอซื้อไม่อั้นและให้ส่งมาที่ประเทศญี่ปุ่นทันที นักการเมืองผู้นั้นได้ใช้อำนาจที่ตนเองมีอยู่เข้าไปทำเหมืองแร่ชนิดนี้เพื่อเอาไปขายให้พวกญี่ปุ่น โดยเปิดโรงงานถลุงแร่ ซึ่งยังมีหลักฐานเป็นซากโรงงานอยู่ในปัจจุบัน เมื่อทำการขุดเจาะและได้แร่ก็นำขึ้นเรือจากเกาะล้าน พอเรือเดินเครื่องได้ประมาณ ๑๐ นาที ห่างจากเกาะล้านเพียงเล็กน้อย เรือก็ล่มลง แร่ทั้งหมดก็จมอยู่ใกล้ ๆ เกาะล้านนั่นเอง ส่วนผู้มีอิทธิพลก็เดินทางมาดู พอมาถึงเกาะล้าน ขณะที่จะขึ้นฝั่ง กำลังเดินขึ้นบันไดท่าเทียบเรือ อยู่ ๆ ก็หงายหลังตกลงไปในทะเลเปียกไปทั้งตัว ชาวเกาะล้าน
– ๑๐ –
ก็พูดกันไปต่าง ๆ นา ๆ และคุณงามบอกผู้เขียนว่า”ท่านผู้อิทธิพลถูกเจ้าพ่อดำถีบตกทะเล” หลังจากนั้นการทำเหมืองแร่ก้เจ๊งและหยุดไปโดยปริยายตราบจนถึงวันนี้
ระฆังหลวง
เมื่อการก่อสร้างพระวิหารด้วยไม้เพื่อประดิษฐานพระเขียวโขงหลังนี้ไดดำเนินมาโดยลำดับ ท่านพระครูบาได้บอกกับผู้เขียนว่า “วิหารหลังนี้ทำยากเหลือเกิน เกินสมองอาตมาจริง ๆ แต่ก็สำเร็จได้ด้วยความตั้งใจและเทวดาช่วย” คือองค์พระแม่เจ้าจามเทวี ได้ช่วยบันดาลให้เป็นไปตามนิมิตที่ท่านพระครูบาเคยบอกไว้ว่า พระแม่เจ้าจามเทวีได้นิมิตให้ท่านพระครูบาสร้างพระไว้ค้ำบ้านค้ำเมือง” ซึ่งท่านก็ได้สร้างมาโดยลำดับ จนวันหนึ่งท่านได้พิจารณาว่า จะทำประวัติการสร้างพระวิหารอย่างไรดี? โดยทั่วไปก็จะจารึกไว้บนแผ่นศิลาจารึกเท่านั้น วันหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไปสวดชันโตในงานหล่อพระที่โรงหล่อบ้านกู่ขาว ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในขณะนั้นท่านพระครูบาก็ไปเห็นช่างกำลังทำระฆังขนาด ๒๐ นิ้ว เพื่อหล่อ ท่านจึงได้ถามนายช่างหล่อว่า ถ้าสมมุติว่าอาตมาจะหล่อระฆังมีความกว้างประมาณ ๑ วาของอาตมานี้ จะหมดเงินเท่าไร? จะต้องใช้ทองหนักเท่าไร? ช่างผู้นั้นชื่อว่า นายธรรมวรรณ ใหม่วัน (ช่างโหน่ง) ได้คิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วบอกท่านว่า คงจะใช้ทองหนักประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลกรัม เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐ บาท (สามแสนบาท) ท่านพระครูบาก็ตอบตกลง ช่างทำเลย จากเหตุเพียงพูดกันสั้น ๆ ง่าย ๆ ทั้งพระครูบาและช่างโหน่งก็เลยสร้างระฆังเพื่อทำเป็นที่จารึกประวัติเจ้าแม่จามเทวีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัดสันป่ายางหลวง ประวัติของครูบาอาจารย์ ประวัติพระพุทธรูปสำคัญของวัด และฯลฯ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ ก็เลยเกิดขึ้นด้วยประการะฉะนี้
จากวันเป็นเดือน เป็นปี เป็น ๒ ปีเต็ม ๆ จากราคาประเมินที่ช่างโหน่งบอกกับท่านพระครูบาว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งอันที่จริงแล้วช่างโหน่งไม่เคยหล่อระฆังใหญ่ ๆ เลย ทำแต่ระฆังเล็ก ๆ ไม่เกิน ๒ นิ้วเท่านั้น การคำนวณทองและราคาจึงกะเอาโดยประมาณ ซึ่งช่างโหน่งเองก็นึกไม่ถึงว่ามันจะบานปลายอย่างคาดไม่ถึง แม้แต่ท่านพระครูบาเองก็เอาช่างว่า ต่างก็นึกไม่ถึงว่าจากราคา ๓๐๐,๐๐ บาทเริ่มบานปลายออกไปเรื่อย ๆ เป็น ๖๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ ……………….เพิ่มมากขึ้น มากขึ้นเป็นลำดับ
ครั้งที่ ๑ เบ้าระฆังล้มเพราะมีขนาดใหญ่และเสาคานค้ำยันเบ้าดินไม่สมดุลย์กัน อีกทั้งช่างโหน่งไม่มีประสบการณ์ระฆังใหญ่เลยเมื่อน้ำหนักของเบ้าดินมากขึ้น ๆ ค้ำยันเสาเหล็กทานน้ำหนักไม่ไหว จึงล้มลงในวันหนึ่ง หลังจากฝนตกอย่างไม่เป็นท่า เหมือนจะเป็นการทดสอบคำว่า บารมีหรือปาระมีของช่างและท่านครูบาว่าจะทนได้หรือไม่? เมื่อท่านพระครูบาทราบ ได้เดินทางไปพูเบ้าระฆัง เห็นเบ้าดินนอนแอ้งแม้งอยู่ ท่านก็ยืนพิจารณาดูอย่างคนหมดกำลังใจ เหมือนกันท่านจะนึกว่า “โอ้หนอ บารมีเราคงทำได้ยากเสียแล้ว” ท่านได้ซื้อทองแดงทองเหลือง ดีบุก เงิน เก็บไว้เป็นบางส่วนแล้ว ถ้าทิ้งก็คือทิ้งทั้งเวลา คือเสียเวลาเปล่า ทิ้งทั้งเงินที่ให้ค่าแรงช่างไปบางส่วนแล้ว ท่านพูดกับผู้เขียนว่า “ถ้าเราหยุด แปลว่าจบ จบทุกอย่าง จบทั้งเงินและเวลา”
ท่านพระครูบากลับมาวัดนั่งคิดถึงคำที่ช่างโหน่งบอกว่า ท่านจะต่อหรือไม่ คือ ช่างเองก็ใจเสีย ท่านพระครูก็แทบหมดกำลังใจ ท่านก็มาพิจารณาว่าเราจะไปเรียกร้องอะไรกับช่างก็ไม่ได้ เพราะแต่เดิมช่างก็ไม่รู่ว่ามันจะบานปลาย จะไปบีบบังคับให้ช่างทำก็ไม่ได้ ช่างก็หาเช้ากินค่ำ มันเป็นการวัดบารมี (ปาระมี)ของท่านเอง เราเองก็ไม่รู้ว่ามันจะหนักหนาปานนั้น ท่านพระครูบาจึงมานึกถึงคำของครูบาอาจารย์ที่ได้กล่าวไว้ว่า “มารไม่มี บารมีบ่เกิด”
เบ้าดินระฆังเมื่อล้มลงช่างโหน่งเองก็เริ่มนึกถึงสถานที่ตั้งเบ้า คงไม่ใช่ที่ที่เป็นมงคลแต่นอน จึงทำการย้ายไปตั้งเบ้าดินที่ใหม่ ห่างจากจุดเดิมประมาณ ๓๐ เมตร (ซึ่งเป็นที่ตั้งเบ้าหล่อในปัจจุบันที่ทำการเททอง) และเริ่มปั้นเบ้าดินขึ้นใหม่ ส่วนท่านพระครูบาก็ได้แต่นึกอยู่ในใจว่า “มารไม่มี บารมีบ่เกิด อุปสรรคบ่มี บารมีบ่เกิด”เหมือนคำครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ ท่านจึงกลับจากโรงหล่อ เมื่อกลับถึงวัดได้ไหวพระสวดมนต์ เจริญภาวนาทำบารมีให้เกิดขึ้นต่อไป
เมื่อเริ่มทำงาน เงินก็ต้องจ่ายเป็นค่าแรงที่ช่างทำงานไป เริ่มบานปลายไปตลอด เพราะถึงตอนนี้การรับภาระก็มาตกอยู่ที่ท่านพระครูบา วัน..และเดือน…ผ่านไปเหมือนสายน้ำ และเวลาการสร้างระฆังหลวงก็ดำเนินไปเรื่อย ๆ
– ๑๑ –
ครั้งที่ ๒ ขี้ผึ้งเกินความเป็นจริง
อุปสรรคครั้งที่ ๒ นี้ เกินความคาดคิดมาก เพราะเนื่องจากว่า ช่างโหน่งกะประมาณการที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ วันนั้น พระครูบาไม่อยู่วัดเดินทางไปกิจนิมนต์ที่จังหวัดชัยภูมิ พอกลับมาถึงวัดช่างโหน่งก็โทรศัพท์มาหาและขอนิมนต์มาดูระฆังที่กำลังติดขี้ผึ้ง ซึ่งขณะนั้นช่างกำลังติดขี้ผึ้งระฆังได้ ๑๕๐ กิโลกรัมแล้ว พระครูบามองเห็ตนขี้ผึ้งที่ติดไปได้เพียงปากระฆังแค่ประมาณ ๑ คืบเท่านั้น พระครูบาจึงพูดว่าว่า”งานนี้เราหนาวแน่” พร้อมกับเดินวนไปรอบตัวเบ้าระฆัง หลังจากนั้นท่านจึงถามช่างว่ามันจะหมดอีกเท่าไร? ช่างโหน่งก็บอกว่า “โอ! ตอนนี้ผมจนปัญญาแล้วครับ มีวิธีเดียว คือ ซื้อขี้ผึ้งมาเพิ่มแล้วติดดูว่ามันจะเต็มเท่านั้น ผมหมดปัญญาแล้วครับ” ท่านพระครูบาได้นึกแล้วว่างานนี้ต้องบานปลายแน่นอน ท่านจึงตัดสินใจไปตายเอาดาบหน้าเถิดเพราะเงินหมดไป ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (หนึ่งล้านบาทเศษ) ท่านพูดกับผู้เขียนว่า “เราไปตายเอาดาบหน้าเถอะถ้าบุญญาบารมีที่เราได้เคยทำไว้เทวดาฟ้าดินคงโมทนาช่วยเหลือเราเอง”นี่คือการทดสอบบารมีครั้งที่ ๒
ระฆังหลวงเหมือนเด็กมีบุญจะเกิด
อันธรรมดาคนเราจะสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าชนใด ตระกูลใดที่จะมีบุตรสืบสกุลนั้น ต้องพึงพร้อมด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เช่น มีพ่อ – มีแม่เป็นแดนเกิด ถ้าหากพ่อและแม่เป็นคนดีมีศีลธรรมเด็กที่จะมาเกิดก็จะเป็นเด็กดี พ่อแม่ใจบุญสุนทานเข้าวัดวาอาราม ใส่บาตรไหว้พระเป็นประจำ บุตรและธิดาในตระกูลนั้นจะมีไม่มาก มีเพียง ๑ เดียว หรือ ๒ – ๓ เป็นอย่างมาก แต่ส่วนมากพ่อแม่ในครอบครัวต่าง ๆ มีมากเหลือเกิน แถมเมื่อเกิดมายังเป็นขี้เหล้าเมายาหาความดีไม่ได้ ซ้ำร้ายกลายเป็นภาระและทำลายสังคมก็มีมากมาย เหมือนนิทานวันสงกรานต์ธรรมปาละเทพบุตรผู้มีปัญญาสถิตย์สรวงสวรรค์ได้รับอาราธนามาเกิดเพื่อแก้ปัญหาให้มวลหมู่มนุษย์ เหตุเพราะท้าวมหาพรหมซึ่งเทวดารู้ว่าจะต้องถามปัญหา จึงได้อาราธนาธรรมปาละเทพบุตรลงมาเกิดกับท่านเศรษฐีสองสามีภรรยาที่ไม่มีบุตร และท่านเศรษฐีถูกคนพาลเสเพลกินเหล้าพูดประชดอยู่เสมอว่าหาบุตรสืบสกุลไม่ได้ ตายไปก็ไม่มีใครดูแลสมบัติและจะต้องตกนรก สองเศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวต่อเทพาอารักษ์และได้ธรรมปาละมาเกิดในที่สุด และธรรมปาละกุมารนี่แหละที่มีบุญญาธิการได้มาแก้ปัญหาท้าวพญาพรหมว่า ตอนเช้าศิริอยู่ที่หน้า คนเราต้องล้างหน้า ตอนบ่ายอยู่ที่อก คนเราเมื่อร้อนก็ให้เอาน้ำลูบอก ภายนอกถ้าร้อนให้เอาน้ำลูบอกจะชุ่มชื่นใจเป็นศิริ ถ้าหากร้อนภายในใจให้เอาน้ำศีลน้ำธรรมเข้าอาบที่อกที่ใจ ให้มีใจเป็นสุข ตอนค่ำศิริอยู่ที่เท้าคนเราก่อนจะนอนต้องล้างเท้าเพื่อความสะอาดและทำให้ประสาทส่วนต่าง ๆตื่นตัว เพราะประสาทส่วนต่าง ๆ ก็รวมอยู่ที่เท้า ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี นี่คือตัวอย่างของเด็กมีบุญ ระฆังใบนี้ก็เหมือนกัน ในรอบ ๑,๔๐๐ ปี(หนึ่งพันสี่ร้อยปี)แห่งนครหริภุญชัยเป็นบ้านเป็นเมืองมา ไม่เคยมีมาก่อน ถึงจะมีก็ไม่ใช่ระฆังสำริดของทางภาคเหนือ เมื่อท่านพระครูบาได้สร้างขึ้นมาจึงเป็นเหมือนเฉลิมฉลองนครหริภุญชัยไปในตัว เมื่อช่างติดขี้ผึ้งไปเท่าใด น้ำหนักของทองที่จะเทก็เพิ่มมากขึ้น
สูตรอัตราเทียบเฉลี่ยทองสำริดที่จะเทมีอยู่ว่า
ใช้ทองแดง ๕ กิโลกรัม
ใช้ทองเหลือง ๕ กิโลกรัม
ใช้ดีบุก ๓ กิโลกรัม (ถ้ามีเงินก็ให้ลดดีบุกลง)
รวม ๑๓ กิโลกรัม
ส่วนแร่พลวงใส่มากไม่ได้เพราะจะทำให้ทองแข็ง กรอบและแตกง่าย
การติดขี้ผึ้ง
ขี้ผึ้ง ๑ กิโลกรัม ต่อ ทองสำริด ๑๐ กิโลกรัม หรือทองเหลือง หรือทองแดง
เมื่อช่างติดขี้ผึ้ง ๑๕๐ กิโลกรัม ตามที่ได้คิดคำนวณไว้แต่แรกก็จะใช้ทองสำริด ๑,๕๐๐ กิโลกรัม(หนึ่งพันห้าร้อยกิโลกรัม) พอติดแล้ว เจ้าประคุณเอ๋ย!!
– ๑๒ –
พระครูบาตกลงที่จะสร้างระฆังต่อไปให้สำเร็จ ท่านนึกเพียงอย่างเดียวว่า”มารบ่มี บารมีบ่เกิด” จนช่างติดขี้ผึ้งไปจนปั้นช้างที่หูระฆัง ติดเสร็จ ใช้ขี้ผึ้งทั้งหมดประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลกรัม(สองพันกิโลกรัม) ก็แปลว่าระฆังใบนี้จะต้องใช้ทองประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลกรัม(สองหมื่นกิโลกรัม) และจะต้องซื้อทองเผื่อไว้เมื่อเวลาเททองสำริดอีก ๔,๐๐๐ กิโลกรัม (สี่พันกิโลกรัม)
กรรมวิธีทำระฆัง
เริ่มจากการทำแบบเหล็ก โดยช่างโหน่งได้เอาเหล็กแป๊บ ๔ นิ้วมาทำเป็นแกนกลาง ฐานล่างใช้ตลับลูกปืน ๔ นิ้วเป็นตัวหมุนทำโครงเหล็กยื่นไปรับเหล็กแผ่นวงกลม ทำเหมือนนึ่งข้าว คานบนใช้เหล็กราวมีเสาค้ำได้ เมื่อแบบเหล็กหมุนได้แล้วก็เริ่มพอกดินไปเรื่อย ๆ เมื่อพอกดินเสร็จก็หยุด รอจนแห้ง ดินที่ใช้ก็ใช้ดินเหนียวผสมแกลบกับทราย พอกจนดีและแห้งสนิท ถ้ามีรอยแตกก็ทุบดินไปเรื่อย ๆ ให้ดินติดสนิทกัน จนดินได้ที่ก็เริ่มกลึงดินรูประฆัง เอาขี้ผึ้งมาตากแดดให้อ่อน แล้วก็พอกขี้ผึ้งไปเรื่อย ๆ จากปากข้างล่าง(หนาประมาณ ๑๐ นิ้ว) แล้วก็เริ่มบางลง ๆ เมื่อสูงขึ้นไป จนถึงคอระฆัง ตั้งหูระฆังแล้วปั้นรูปช้างชูงวงทั้ง ๒ ด้าน เสร็จแล้วก็เริ่มพอกด้วยดินนวล คือ เอาดินชนิดละเอียดมากรอง ผสมด้วยน้ำแล้วกรองเอาดินละเอียดมาผสมกับดินแกลบ
และขี้วัวอ่อน ผสมกันแล้วก็ทาชั้นแรกที่ขี้ผึ้ง จากนั้นก็ทาดินนวลให้หนาพอสมควร แล้วเริ่มพอกด้วยดินผสมทรายละเอียดและขี้เถ้าแกลบ ทุบจนไม่มีรอยแยก รอให้แห้งแล้วก็พอกด้วยดินหยาบ แกลบหยาบ ทรายหยาบ พอได้ความหนาประมาณ ๒.๕ นิ้ว – ๓ นิ้ว ก็เริ่มรัดด้วยเหล็ก ๔ หุนแล้วใช้เชื่อมด้วยไฟฟ้าให้ติดกันจนโครงเหล็กรัดระฆังดีแล้วก็พอกด้วยดินหยาบจนได้ความหนาที่พอดี(ประมาณ ๕ นิ้ว) ก็รัดเหล็กรอบวงอีกรอบห่าง ๆ พอยึดแล้วก็พอกด้วยดินหยาบเป็นชั้นนอกสุด
วันและคืนผ่านไป ระฆังก็เป็นรูปร่างอย่างสมบูรณ์ พร้อมกับการบินหนีไปของเงินทองซึ่งเกิดจากศรัทธาของญาติโยมที่ได้ร่วมกันทอดผ้าป่า ร่วมบริจาคทองแดง ทองเหลือง ดีบุก รอบแล้วรอบเล่า จนญาติโยมบางคนพูดว่า “ครูบาโดนช่างโหน่งต้มเสียละมั้ง” เออ.. อย่างนี้ก็มี ช่างโหน่งก็มีความตั้งใจทำ ผสมกับได้อาจารย์ดี คือ ลุงทองผู้เป็นพ่อตา ได้เป็นช่างหล่อระฆังเล็กขายเป็นอาชีพแต่เดิมมา เป็นผู้บอกเคล็ดลับในการเทระฆัง การทำระฆัง ว่าจะใช้ทองอย่างไร? จะใช้เวลาเทเท่าไร? ลุงทองจึงเป็นเหมือนพ่อตาและอาจารย์ของช่างโหน่ง จนในที่สุดทุกสิ่งก็เริ่มสมบูรณ์ พร้อมที่จะเทระฆัง
ในตอนแรกท่านพระครูบากะว่าจะเทในวันที่ ๒๘ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ แต่มีเหตุให้ต้องเลื่อนมาเทในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ)
เช้าวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ท่านพระครูบาก็ได้โทรศัพท์ไปหาช่างโหน่งและบอกให้ทราบว่าจะเทระฆัง ได้ฤกษ์วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ แน่นอน ร่นถอยมา ๑ เดือน ช่างโหน่งเมื่อได้ทราบจากโทรศัพท์ก็บอกกับผู้เขียนว่า นับตั้งแต่ได้รับโทรศัพท์จากพระครูบาก็ตกใจไม่นึกว่าพระครูบาจะเปลี่ยนย่นระยะเข้ามา ๑ เดือน หลังจากทราบข่าวก็มีอาการขนลุกขนพองมาโดยตลอด โดยไม่ทราบสาเหตุ เร่งเตรียมการเพื่อจะเทระฆังชนิดลืมวัน ลืมคืน ลืมกินเลยทีเดียว ช่างโหน่งเหมือนคนเอาจริงเอาจังตั้งใจจนสุด ๆ เพื่อจะทำระฆังใบนี้ ซึ่งพูดอยู่เสมอเหมือนพรครูบาว่า”เราจะสร้างประวัติศาสตร์ให้ลูกหลานได้ดู” ช่างโหน่งแต่เดิมเป็นคนบ้านประตูเชียงใหม่และได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่กับพี่ชายและพ่อตาที่บ้านกู่ขาว ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มาทำอาชีพเททองหล่อพระ หล่อรูปเหมือน หล่อวัตถุโบราณ ฯลฯ ได้หลายปี ตั้งแต่แต่เกิดมากับลุงทองพ่อตา ต่างก็พูดเหมือนกันว่า ไม่เคยทำระฆังใหญ่ขนาดนี้เลย พอข่าวเริ่มกระจายออกไป ผู้คนทั้งหลายต่างก็เตรียมตัวมาเทระฆังหลวงประวัติศาสตร์ในนี้กันถ้วนหน้า
ฝ่ายช่างโหน่งเองก็มีความกดดันมากขึ้น คือในบรรดาช่างด้วยกันบางคนที่ยินดีก็มี บางคนซ้ำเติมก็มี โดยปรามาศว่า ไม่สำเร็จหรอก ถ้าสำเร็จจะยกเป็นปรมาจารย์เลยก็มี ช่างโหน่งก็เริ่มขนลุกขนพองแบบแปลก ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้เที่ยวไปขอพรจากผู้ที่เคารพนับถือ จากสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป เพื่อให้มีกำลังใจ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ช่างโหน่งก็เริ่มทำพิธีการเผาหุ่น ซึ่งวันนั้นพระครูบาได้พูดกับผู้เขียนและช่างโหน่งว่า
พระครูบา “ช่าง ! คนเราเกิดมาต้องมีพ่อมีแม่ใช่ไหม?”
ช่างโหน่ง “มีครับ”
– ๑๓ –
พระครูบา “ แล้วช่างรู้ไหมว่าระฆังใบนี้ใครเป็นพ่อเป็นแม่”
ช่างโหน่ง “ไม่รู้ครับ”
พระครูบา “ระฆังใบนี้มีฟ้าเป็นพ่อ มีดินเป็นแม่ แม่ธรณีนี่เหละ ฟ้าอยู่สูงคือสถานที่อยู่ของเทวดา อินทร์พรหม รวมทั้งเจ้าแม่จามเทวีของนครหริภุญชัยด้วย และครูบาอาจารย์ของเราด้วย เราต้องบอกพ่อของเราให้ได้รับรู้”
ช่างโหน่ง “บอกอย่างไรครับ?”
พระครูบา “ทำพิธีแบบล้านนา คือ บวงสรวงและอัญเชิญด้วยสัคเคกาเมนี่เหละ ส่วนพระแม่ธรณีเราก็
บอกให้ได้รับรู้รับทราบที่แผ่นดินที่เราจะเทระฆังนี่แหละ ช่างรู้ไหมคนเราเกิดมาต้องอาศัยรกเป็นท่ออาหารจากแม่สู่ลูก ระฆังก็เหมือนกัน จะเชื่อมฟ้ากับดินต้องใช้ไม้รกฟ้าเป็นตัวเชื่อมฟ้ากับดิน คือพ่อกับแม่”
หลังจากที่พระครูบาได้เริ่มทำพิธีจุดเทียนก่อไฟเผาด้วยการบอกกล่าว พระสงฆ์ ๕ รูป ชะยันโต เผาด้วยไม้รกฟ้า ไม้ขนุน ไม้โชค ดอกไม้มงคล ไม้ค้ำ ไม้โมคคัลลานะ ฯลฯ
เมื่อเริ่มเผาหุ่นระฆังเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ วันที่ ๒๓ , ๒๔ ขี้ผึ้งที่อยู่ด้านในก็เริ่มละลายไหลออกมาเรื่อย ๆ จนหมดในวันที่ ๒๕ หลังจากนั้นก็เริ่มเผาด้วยน้ำมันเตาไปเรื่อย ๆ จาก ๑ ถัง เป็น ๑๐ ถัง เป็น ๑๐๐ ถัง วันที่ ๒๖ , ๒๗ ไฟยังไม่ขึ้นด้านบน ช่างโหน่งก็ร้อนใจ ทำไมไฟไม่แรงเลย เผาได้ ๓ วันแล้ว ไฟยังไม่ขึ้นถึงหูระฆังเลย ก็ได้ความคิดใหม่ โดยเปลี่ยนพัดลมจาก ๓ นิ้ว เป็น ๔ นิ้ว ก็พอดีไฟแรงขึ้นจนถึงปากปล่องด้านบนซึ่งมีความสูงมาก เผาหุ่นได้ ๑ วันกับอี ๑๒ ชั่วโมง รวมเป็น ๓๖ ชั่วโมง การเผาหุ่นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยในวันที่ ๒๘มีนาคม ๒๕๔๗ ช่างโหน่งก็หยุดทำการเผาหุ่นเพราะหุ่นสุกดีแล้ว ด้วยการมองเปลวไฟโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา
ความพอดีที่ยากเกินจะเข้าใจ
ช่างโหน่งเล่าว่า ตามธรรมดาเมื่อเริ่มเผาเบ้าได้ใช้พัดลมขนาด ๓ นิ้ว เยาได้ ๓ วัน ไฟก็ยังไม่ถึงด้านบนของระฆัง จึงได้เปลี่ยนพัดลมเป็น ๔ นิ้ว เพียงแค่ ๑ วันกับอีกครึ่งคืน(๓๖ ชั่วโมง) ไฟก็ถึงด้านบนและหุ่นระฆังก็สุกพอดี ในขณะที่ใช้พัดลม ๓ นิ้ว ๓ วันยังไม่สุก ถ้าสมมุติว่าตอนเริ่มเผาถ้าช่างใช้พัดลม ๔ นิ้วจะเกิดอาการอย่างนี้
๑.หุ่นระฆังจะสุกเร็วขึ้น
๒.จะมีผลเสีย คือ เมื่อไฟแรง เหล็กที่รัดด้านในจะละลายเพราะความร้อนสูงมาก
๓.จะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง นั่นก็คือ เมื่อเหล็กละลายการยึดของดินจะไม่แข็งแรงระหว่างด้านในกับด้าน
นอก อาจจะเกิดแรงดันของทองเมื่อเทลง ทำให้เบ้าแตก ก็จะทำให้การหล่อระฆังพังพินาศทันที
สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ เมื่อใช้พัดลม ๓ นิ้วเป่าไฟนั้น ทำให้ไม่ถึงด้านบนเป็นการดีโดยบังเอิญ เหมือนเทวดาดลใจให้ช่างใช้พัดลม ๓ นิ้วเผาตั้งแต่แรก ทำให้ไฟค่อย ๆ ร้อน เบ้าหุ่นจะค่อย ๆ ร้อน ไม่สุกเร็ว เหมือนเป็นการบ่มเบ้าระฆังไปทีละน้อย ๆ ถ้าเผาดินสุกเร็ว เหล็กจะละลายและเสียหายได้ในที่สุด นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหลือที่จะคาดเดาได้
และอีกปรากฏการณ์หนึ่ง คือ ด้านล่างของปากระฆังเมื่อถูกไฟเผามาก ๆ ดินจะกรอบเพราะอยู่ใกล้และถูกไฟเผามากที่สุด เดชะบุญที่ช่างได้เอาดินทนไฟพอกไว้ด้านล่างสุด การถูกไฟเผามากเกินไปไม่ทำให้ดินเสียหาย ระฆังใบนี้ช่างพูดได้เลยว่า”เป็นระฆังครูหรือเป็นระฆังที่ช่างได้วิชาความรู้มากที่สุด” การที่ช่างเป็นผู้วางแผนในการเทระฆังอย่างรอบคอบและให้ออกมาดีไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องมีประสบการณ์และใช้เงินทองมากมาย เพราะสิ่งที่ใช้ป้องกันความเสียหาย เช่น ใช้อิฐทนไฟ ปูนทนไฟ ปูนปลาสเตอร์ เพื่อทำแบบเบ้าระฆัง ล้วนแต่เป็นประสบการณที่ช่างได้คิดไว้ จึงเป็นเหมือนหลักวิชาการดี มีบารมีของผู้สร้าง ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอช่วยเหลือเกื้อหนุน บางสิ่งบางอย่างจะผิดพลาดก็ดลจิตดลใจให้ได้ความคิดที่ดีแล้วจึงเอามาทำ เป็นสิ่งที่เหลือ
บันทึก ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
– ๑๔ –
เชื่อจริง ๆ การทำระฆังใบใหญ่นี้ใช่ว่าจะทำได้ง่าย ๆ หรือทำได้สำเร็จเสมอไป บางคนคิดว่าตัวเองมีเงินแล้วจะทำอะไรก็ได้
การทำระฆังหลวงใบนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ต้องผนวกทั้งแรงศรัทธา แรงบารมี แรงกุศลผลบุญที่พระครูบาได้ตั้งใจให้เป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา
ครูบาอาจารย์บางรูปบางองค์ยังทำไม่สำเร็จก็มี เช่น วัดที่จังหวัดนครปฐม หล่อถึง ๒ ครั้งก็ไม่ได้ วัดที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ หล่อก็ไม่ได้เช่นกัน เบ้าหุ่นแตก ทองทะลักอกหมด
ในประเทศพม่า กษัตริย์ทุก ๆ องค์ที่ขึ้นครองราชย์ ก็จะทำการสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นอนุสรณ์ คือ
๑.สร้างมหาเจดีย์และวัดวาอาราม หวังเอาบุญในภายภาคหน้าให้มีความสุขและปรารถนาถึงนิพพาน
๒.สร้างสระน้ำอันกว้างใหญ่ หมายถึงความร่มเย็น เพราะคนเราต้องอาศัยน้ำ
๓.สร้างสิงห์ครูใหญ่ หมายถึง เดชอำนาจ บารมี
๔.สร้างระฆังใหญ่ หมายถึง ชื่อเสียงเกียรติยศ
กษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ ก็จะสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ แก่อนุชนรุ่นหลัง
ที่ประเทศพม่า มีระฆังใหญ่ใบหนึ่งในเมืองมันดาเล ซึ่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งได้สร้างไว้ด้วยทองสำริด แต่เสียงไม่ดังเพราะทองไม่สนิทกัน ใหญ่แต่รูปร่างเท่านั้น ในเมืองจีนก็มีตำนานการสร้างระฆังของกษัตริย์ ในเมืองกวางสี ตำนานกล่าวไว้ว่า ได้ให้ช่างทำระฆังใหญ่ไว้ ซึ่งกษัตริย์องค์นี้ได้บังคับให้ช่างทำจนเป็นที่พอใจในเสียงระฆัง หากเสียงไม่ไพเราะ ไม่กังวาลก็จะไม่เอา โดยคาดโทษไว้ว่า ถ้าทำไม่ได้จะฆ่านายช่างผู้ทำระฆังทิ้ง นายช่างได้ทำครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ก็ไม่สำเร็จ จนครั้งที่ ๓ ลูกสาวนายช่างหล่อระฆังได้กระโดดเข้าไปในระฆังฆ่าตัวตายบูชาระฆังเพื่อให้บิดาคือนายช่างหล่อระฆังได้สำเร็จ นายช่างจึงหล่อระฆังได้สำเร็จ
บวงสรวงเทวดา
อันงานใดๆ ก็ตามถ้าหากว่าบุคคลผู้มีใจอันมั่นคงแล้วงานนั้นก็เหมือนเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่สิ่งทีมนุษย์เราต้องการในการทำพิธีใหญ่ ๆ คือ กำลังใจ ยิ่งถ้าหากว่าทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับของที่บุคคลทั้งหลายเคารพบูชาแล้ว ก็ต้องการทำให้เกิดความบริสุทธิ์ สะอาด ดีงาม ก่อนจะหล่อระฆังใบนี้ก็เช่นกัน ท่านพระครูบาก็ได้บอกกล่าวและบวงสรวงเทพยาดาฟ้าดิน ครูบาอาจารย์และดวงวิญญาณพระแม่เจ้าจามเทวี ตลอดจนเทพยาดาทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาลขอทำระฆังใบนี้ให้ฟ้า(พ่อ) ดิน(แม่) ให้ได้อนุโมทนาในการสร้างระฆังประวัติศาสตร์นี้โดยทั่วกัน เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ช่างโหน่งและคนงานและเพื่อความสวัสดีมีมงคลในการหล่อระฆังใบนี้ เพื่อให้เป็นระฆังประวัติศาสตร์แห่งนครหริภุญชัยสืบไป
ในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ น.เศษ ท่านพระครูบาและคณะศรัทธาไปรวมกัน ณ สถานที่โรงหล่อระฆัง บ้านกู่ขาว พระประกอบบุญ สิริญาโณ ศิษย์ของท่านพระครูบาได้โอกาสเวนทานอัญเชิญดวงพระวิญญาณพระแม่เจ้าจามเทวีและทพยดาทั้งแสนโกฏิจักรวาลได้มาร่วมเป็นสักขีพยานโมทนาในการหล่อระฆังต่อหน้ารูปปั้นพระแม่เจ้าจามเทวีศรีหริภุญชัย เสร็จแล้วก็ได้เริ่มยุดธูปเทียนชัยพิธีโดยลำดับ พระสงฆ์ ๙ รูป มีพระครูบาเป็นประธานสงฆ์ได้เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรค อันตรายทั้งปวงที่จะเกิดมีก็ให้พินาศไปด้วยพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพ เดชและบารมีแห่งพระแม่เจ้าจามเทวี ซึ่งการหล่อระฆังหลวงในครั้งนี้เป็นระฆังประวัติศาสตร์ ในรอบ ๑,๔๐๐ ปีแห่งนครจามเทวีศรีหริภุญชัย
ปรากฏภาพพลังจิต
เมื่อพระครูบาได้เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว พระประกอบบุญ สิริญาโน ได้แสดงพระธรรมเทศนาอักขระนะโม ๑ กัณฑ์ จากนั้นคณะญาติโยมได้ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๙ รูป พระสงฆ์อนุโมทนาและจุดเทียนรอบบริเวณหุ่นระฆังหลวง ในขณะนั้นวงดนตรีพื้นเมืองได้บรรเลงเพลงพื้นเมืองล้านนา คุณสุรพล สุคง เป็นผู้เก็บภาพโดยการถ่ายรูปบริเวณพิธีเพื่อเป็นที่ระลึก เป็นประวัติศาสตร์ โดยใช้กล้อง SONY รุ่น P72 CyberShort บันทึกภาพ
พิธีเททองเริ่มเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๕๙ น. ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ได้ฤกษ์หล่อระฆังหลวง เช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ พระครูบาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์และสามเณรตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์รวมถึง
– ๑๕ –
คณะศรัทธาทั้งในจังหวัดลำพูนและต่างจังหวัด ต่างก็ไปร่วมงานเทระฆังหลวงอย่างล้นหลาม ญาติโยมชาวบ้านได้ทำโรงทาน นำอาหารคาวหวานไปบริการแก่แขกที่มาร่วมงานหลายซุ้ม หลายร้าน อิ่มหนำสำราญกันถ้วนหน้า
พิธีเททองเริ่มเมื่อเวลา ๐๙.๕๙ น. ของวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ได้ฤกษ์หล่อระฆังหลวง การเทระฆังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ช่างเททองทั้งหมด ๗๒ คน สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เททองบ้าง รับประทานอาหารบ้าง ดื่มน้ำบ้าง คณะแห่ดนตรีพื้นเมืองก็แห่ประโคมไปเรื่อย ๆ ช่างทุกคนต่างก็เหนื่อยล้า แต่กำลังใจของทุกคนยังดีอยู่ ช่วยกันหลอมทอง เททองอย่างไม่หยุดยั้ง
การเทระฆังสำริดทางภาคเหนือไม่เหมือนภาคกลางที่เทด้วยทองเหลือง ซึ่งทางภาคกลางจะเทเร็วมาก แต่ช่างทางภาคเหนือจะเททองช้า จะรอจนทองด้านบนสุดเริ่มมีฝ้าเกิดขึ้นก็จะเทต่อเพราะช่างจะรู้ว่าทองสำริดสูตรทางเหนือจะแข็งตัวช้ามาก สาเหตุที่แข็งตัวช้าเพราะมีส่วนผสมของดีบุกและเงิน
เวลา ๑๙ น.เศษ พระครูบาก็กลับวัดเพื่อสรงน้ำ และเดินทางไปโรงหล่ออีกครั้งเมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น. คุณสุรพล สุคงกำลังเก็บภาพพิธีทุกขั้นตอน จนในที่สุดการหล่อระฆังก็เสร็จเรียบร้อยเมื่อเวลา ๒๓.๔๕ น. พระครูบาได้ให้พระประกอบบุญ สิริญาโน ผู้เป็นลูกศิษย์ ยอโองการขอบคุณ อนุโมทนาฟ้าดินและเหล่าทวยเทพเทวาตลอดจนเจ้าที่เจ้าทางทั้งหลาย เสร็จเรียบร้อยแล้วครูบาจึงให้พรแก่ช่างทุกคน พระเณร ศรัทธา ญาติโยมที่มาร่วมทำพิธี จากนั้นพระครูบาก็หยาดน้ำลงดินแล้วไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์ โปรยดอกไม้ที่ระฆัง เสร็จพิธีเมื่อเวลา ๒๓.๕๐ น.
บันทึก ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๗
ระฆังหลวงได้หล่อเสร็จแล้วพระครูบาก็โล่งใจ ช่างโหน่งก็โล่งใจ ศรัทธาญาติโยมก็โล่งใจ ที่การหล่อระฆังสำเร็จไปเปราะหนึ่ง ซึ่งยังต้องพิสูจน์อีกขั้นตอนหนึ่ง คือ ตอนแกะดินออกเท่านั้นว่าระฆังจะเต็มหรือไม่? จะมีรอยแตกรอยแยกหรือไม่? ซึ่งก็ต้องใช้เวลาคือ รอ…รอเวลาเกะดู
การรอคอยเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ตามธรรมดาการหล่อระฆังใบเล็ก ๆ ช่างก็จะใช้เวลา ๓ วันจึงจะแกะดินออกได้ โดยช่างจะสังเกตดูจากความเย็นตัวของทอง ถ้าทองยังร้อนอยู่ ช่างจะไม่แกะเด็ดขาด เพราะข้าขืนแกะ รับรองระฆังแตกแน่นอนเพราะความร้อนของระฆังถูกความเย็นจากภายนอกกระทบอย่างรวดเร็ว การหดตัวของระฆังจะเย็นโดยเฉียบพลัน นี่เป็นเคล็ดวิชาของช่างทำระฆังอย่างหนึ่ง พระครูบาก็รอคอย ทุกคนก็รอคอย จนผ่านสงกรานต์ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๗ พระครูบาพร้อมด้วยคณะญาติโยมไปดูระฆัง ช่างโหน่งก็จับดูที่ทองระฆังก็ยังร้อนระอุอยู่เหมือนวันเททอง พระครูบาและช่างโหน่งต่างก็ร่วมกันพิจารณาและลงความเห็นตรงกันว่า สาเหตี่ระฆังยังร้อนอยู่นั้นเพราะทรายแห้งที่ช่างโหน่งได้เอากรอกลงไปในระฆังนั้นเก็บความร้อนไว้และทรายได้เทเข้าไปเป็นแบบด้นข้างในของระฆังไว้นั้นเองเป็นตัวเก็บความร้อน พระครูบาพร้อมด้วยช่างโหน่งจึงทำการเจาะฐานของระฆังเพื่อเอาทรายด้านในของตัวระฆังออก จนเจาะถึงฐานด้านในทะลุทรายแห้ง ทรายแห้งก็เริ่มไหลทะลักออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งทุกคนได้จับดูทรายแห้งก็รู้สึกร้อนมาก จนทรายได้อออกมาจนหมด หลังจากนั้นอีก ๓ วัน ระฆังก็เย็นลงโดยลำพับ จนถึงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗ ช่างจึงได้เริ่มแกะดินด้านนอกออก แกะไปเรื่อย ๆ พระครูบาก็ได้ให้พระเณรและญาติโยมได้ช่วยกันเจาะเอาดินออก จนในที่สุดการแกะแบบนอกก็ออกหมด เห็นตัวระฆังชัดเจน ทุกคนต่างก็โล่งใจไปด้วยกันทั้งหมด ทั้งครูบาและช่างโหน่ง
พระครูบาดูภาพถ่ายงานเทระฆัง
คุณสุพล สุคง หลังจากได้ถ่ายภาพพิธีเททองเสร็จแล้วก็ได้นำฟิลม์ไปล้างที่ร้านถ่ายรูปและได้นำมาให้พระครูดูพร้อมกับแจ้งให้ทราบว่า ภาพถ่ายที่อัดออกมาทำไมจึงเป็นอย่างนี้ พระครูบาได้ดูรูปภาพถ่ายทั้งหมดแล้ว ท่านก็พิจารณาอยู่เป็นเวลานาน ดูแล้ว ดูอีก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอลที่คุณสุพลถ่ายออกมา มันแตกต่างจากภาพถ่ายโดยทั้งอย่างสิ้นเชิง คือ เป็นภาพที่อัศจรรย์ใจแก่ท่านพระครู เช่น มีรูปคนยืนปรากฏในพิธี มีรูปกลุ่มดาวต่าง ๆ ปรากฏอยู่ บางภาพปรากฏเป็นรูปช้าง
– ๑๖ –
แต่รูปกลุ่มดาวนั้นมากที่สุด แต่ภาพที่มหัศจรรย์ที่สุดคือภาพที่เป็นพลังจิตของท่านพระครูบาในค่ำวันที่ ๓๐ ภาพที่พระครูบาแผ่เมตตาให้พรแก่พระ เณร ช่าง ศรัทธา คือภาพที่ปรากฏเป็นรูปคนยืน
ภาพกลุ่มดาวต่าง ๆ
ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างน่าพิศวงงงงวยเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง พระครูบาได้เชิญร้านถ่ายรูปท่านผู้มีความชำนาญมาดู ต่างก็พูดได้เหมือนกันว่า “งืดแต้ แต้” ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เป็นปรากฏการณ์ที่เหลือจะอธิบายจริง ๆ เมื่อพระครูบาได้เห็นแล้วท่านรู้ด้วยตัวของท่านเอง จึงได้สั่งให้เก็บดินทั้งหมดเอาไว้ที่วัดและบอกกับผู้เขียนว่า “ดินนี้เป็นดินเทวาภิเษกพร้อมกับสังฆาภิเษก เป็นดินที่ทุกคนเข้าใจยาก” หลังจากนั้นเมื่อช่างได้ทำการเจียรระฆังหลวง พระครูบาก็สั่งให้เก็บผงระฆังที่ช่างได้เจียรออกเพื่อทำให้ระฆังเกลี้ยงเกลาเก็บไว้อีก ซึ่งทุกคนก็ยังไม่รู้ว่า ท่านพระครูบาให้เอามาเก็บไว้ทำไม? ทำให้ทุกคนงุนงงสงสัยเป็นอันมาก อยู่ต่อมาพระครูบาได้เชิญช่างโหน่งและคนงานมาดูภาพที่วัด โดยเปิดภาพด้วยคอมพิวเตอร์เข้าสู่จอโทรทัศน์ ช่างโหน่งและทุก ๆ คนที่ได้ดูรูปพิธีเทระฆังหลวงแล้วต่างก็ขนลุกขนพองไปตาม ๆ กัน พร้อมกันนั้นก็ได้เล่าให้พระครูบาฟังว่า เมื่อคืนวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ หลังจากเทระฆังเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้อาบน้ำชำระร่างกายพักผ่อนเข้านอน จนเวลาผ่านไปประมาณตี ๒ ฝันว่ามีคนนุ่งขาวเกล้าผมมวยได้มาพบกับช่างโหน่งพร้อมกันนั้นก็ได้พาช่างโหน่งมาที่ตั้งของระฆังหลวง ในฝันนั้นช่างโหน่งไม่เห็นระฆังหลวง แต่กลับมองเห็นเพียงแต่แท่นเผาระฆัง กว้างประมาณ ๓ เมตร เป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า คนนุ่งขาวได้ชี้มือไปที่แท่นฐานเทระฆังหลวงแล้วพูดว่า “สถานที่นี้ต่อไปจะเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์เน้อ” แล้วก็หายไป จนรุ่งเช้าช่างโหน่งนึกถึงความฝัน แต่ก็อดใจไว้ได้
ตอนเย็นวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ จึงได้มาที่วัดและได้พูดคุยกับท่านพระครูบาถึงการหล่อระฆังหลวง (ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้แกะดูระฆังหลวง) ว่า”ผมได้ทำสำเร็จแล้วและเชื่อมั่นว่าสำเร็จดังประสงค์” และพูดต่อไปว่า “พระครูบานี้อดีตชาติท่าจะเป็นอดีตเจ้าหลวงองค์ใดองค์หนึ่งเป็นแน่แท้ถึงได้มาข้ำมาเขทรมานผมเหลือเกิน” ซึ่งพระครูบาได้ฟังช่างโหน่งว่าดังนั้นก็หัวเราะ แล้วท่านก็พูดกับช่างโหน่งว่า “สล่าโหน่คนเรานั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่ากรรมเป็นตัวกำหนดให้คนเราดีเลวและประณีต” เราคงมีกรรมร่วมกันมาก่อนจึงต้องมาเป็นอย่างนี้ ถ้าอาตมาไม่มีช่างโหน่งระฆังใบนี้ก็คงไม่สำเร็จ ช่างโหน่งถ้าไม่มีอาตมาช่างโหน่งเองก็คงไม่ได้สร้างประวัติศษสตร์ในการทำระฆังหลวงนี้แน่นอน” ช่างโหน่งจึงพูดว่า”งานเทระฆังในครั้งนี้เป็นงานที่ท้าทายผมมาก เพื่อนฝูงในอาชีพเดียวกันก็ได้รอดูผลงานของผมอยู่” และผมก็ขออนุญาตท่านพระครูบาว่าผมจะทำสถานที่เทระฆังให้เป็นสถานอนุสรณ์ที่จะจารึกเรื่องราวการหล่องระฆังหลวงไว้ให้อนุชนคตนรุ่นหลังได้ดูและศึกษาว่าระฆังใบนี้เกิดที่นี่ คือ นครแห่งพระนางจามเทวีศรีหริภถุญชัยและให้เป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลสืบไปชั่วกาลปาวศานต์
นิมิตภาพที่ปรากฏเป็นที่มาแห่งการสร้างพระรอดหลัง”อ”
ผู้เขียนได้มารับทราบจากพระครูบาในภายหลังว่า รูปที่เป็นเงาคนนั้นเป็นรูปของพระแม่เจ้าจามเทวีได้มาร่วมอนุโมทนาในการหล่อระฆัง ซึ่งตรงกับคุณไพศาล แสนไชย ได้นิมิตไว้ก่อนวันเทระฆังโดยได้บอกกับหลาย ๆ คนว่า พระแม่เจ้าจามเทวีได้มาร่วมอนุโมทนาในการเทระฆังจนเสร็จพิธี ตลอดจนถึงเหล่าเทพยาดาอันมีจำนวนมาก รวมทั้งองค์พระยายีบา อดีตกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยก้ได้มาร่วมอนุโมทนาด้วย พร้อมทั้งครูบาอาจารย์ที่มรณะภาพไปแล้วในอดีตและยังสถิตอยู่ในเทวโลกก้ได้มาร่วมอนุโมทนาเป็นจำนวนมากจึงปรากฏเป็นดวงดาวสีต่าง ๆ พราวพร่างไปหมดในภาพถ่าย ซึ่งเงารูปที่ล้อมรอบรูปภาพคนยืนนั้นเหมือนกับรูปทรงของพระพอดอย่างแปลกปลาด เหมือนกับพระแม่เจ้าจามเทวีจะบอกโดยนัย ๆ ว่า”ให้เอาดินระฆังทั้งหมดสร้างพระรอดเพราะในปัจจุบันพระสกุลลำพูนถูกทำลายไปตามกาลเวลาก็มาก จะหามวลสารที่ดี ๆ ก็นับว่ายาก พระครูบาจึงอนุญาตให้คณะศิษยานุศิษย์ที่ได้มาขอร้องให้ท่านสร้างพระรอดด้วยดินระฆังหลวงปฏิหาริย์นี้ เพื่อแจกเป็นอนุสรณืในการสร้างระฆังหลวงครั้งประวัติศาสตร์นี้ ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงเป็นที่มาแห่งคำว่า พระรอดหลัง”อ”รุ่นระฆังหลวงปฏิหาริย์
อัศจรรย์ขันหลวงค่ำ
ในการทำพิธีของล้านนาไทยไม่ว่าจะเป็นการเบิกพระเนตรพระพุทธรูปก็ดี การทำพิธีปลุกเศกก็ดีจะมีการทำขันหลวงขึ้น พร้อมกับพระสงฆ์หรือมัคคทายก(อาจารย์ผู้นำถวายทำพิธีกรรมต่าง ๆ)จะได้อ่านโองการ”ยอขันหลวง”หรือเรียกอย่างเป็นทางการ
– ๑๗ –
ว่า”ทำพิธีไหว้แก้วเจ้า ๕ โกฐาก แก้ว ๕ โกฐาก คือ การที่ผู้ปฏิบัติในการเจริญพระกรรมฐานก็ดีหรือกระทำพิธีใหญ่ ๆ เพื่อระลึกถึงการทำความเคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยและคุรพระกรรมฐานทั้งหมดและคุณครูบาอาจารย์ จึงรวมเป็นแก้วหรือดวงแก้วอันประเสริฐ ๕ ประการ คือ
๑.พระพุทธรัตนะ ระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า
๒.พระธรรมรัตนะ ระลึกถึงคุณแห่งพระธรรมเจ้า
๓.พระสังฆรัตนะ ระลึกถึงคุณแห่งพระสังฆเจ้า
๔.พระกรรมฐาน ระลึกถึงคุณแห่งพระกรรมฐานทั้งสมถะกรรมฐาน ๔๐ และวิปัสสนากรรามฐานมีโพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ
๕.ครูบาอาจารย์ ระลึกถึงคุณแห่งครูบาอาจารย์ผู้ได้ประสิทธิประสาทสรรภวิชาความรู้ทั้งปวงให้แก่ศิษย์
ขันหลวงเป็นอามิสบูชา(การบูชาด้วยอามิส) มีขันใหญ่(พานใหญ่)ดอกไม้ใส่ลงไปในพานมีดอกไม้สีขาว สีเหลือง สีแดง สีชมพู สีส้ม ๕ ชนิด( ๕ กองหรือ ๕ ชนิด) ในพิธีขึ้นขันหลวงนี้ จะเรียกว่าขึ้นขันครูหรือแต่งขันครูเพื่อทำการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นประเพณีของภาคเหนือที่ศิษย์ผู้ได้รับการอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ก็จะทำการแสดงความเคารพบูชาต่อครูบาอาจารย์ของตนเอง แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิประศาสน์วิชาความรู้ พุทธาคม พระคาถาต่าง ๆ
ขันหลวงในพิธีตำราพิชัยสงคราม
ในการออกรบทัพของทหารในครั้งพระแม่เจ้าจะออกทำศึกก็จะรวมตัวกัน ณ เสาหลักเมืองหรือเสาสัตพรรณหรือเสา
อินทขิล เหล่าแม่ทัพนายกองตลอดจนไพร่พลทุกหมู่เหล่าก็จะมารวมตัวกันทั้งหมด ในพิธีก็จะอ่านโองการโดยพระเถราจารย์ที่นิมนต์มายอขันหลวงจำนวน ๙ รูป ซึ่งเป็นพระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั้งหมด พระเถราจารย์จะเจริญพระพุทธมนต์เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์และการยอขันหลวงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารหาญ เมื่อเสร็จพิธีก็จะทำพิธีคว่ำขัน คือ ขณะที่พระเถราจารย์สวดมนต์เสร็จก็จะคว่ำขันหลวงทันที เพื่อเป็นความหมายว่าครูบาอาจารย์ได้มอบวิทยาคมแก่ลูกศิษย์และปกปักรักษาลูกศิษย์
พระครูบาพร้อมด้วยคณะสงฆ์และสามเณรทำพิธีเสกน้ำว่าน
เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว พระครูบาพร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดสันป่ายางหลวงจำนวน ๑๑ รูป สามเณรจำนวน ๗ รูป ได้เริ่มนำน้ำทิพย์จากดอยขะม้อ น้ำทิพย์จากจังหวัดสกลนคร น้ำทิพย์จากสระมุจจลินทร์ที่อินเดีย ผงยาจินดามณี ว่านชนิดต่าง ๆ ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว จึงได้เริ่มไหว้พระทำวัตรเย็นพร้อมกัน แล้วก็เริ่มทำพิธี ยอคุณขันหลวง จุดเทียน ๕ เล่ม โดยพระประกอบบุญ สิริญาโณ เสร็จแล้วพระครูบาก็นำพระสงฆ์สามเณรสวดพระปริตสูตรทำน้ำว่านพุทธมนต์ จนจบถึง นิพพานัง ปะระมังสุขขัง ฯ พระครูบาก็จับเทียนที่รอบอ่างน้ำว่านเพื่อจุ่มลงในน้ำว่าน ในขณะนั้นขันหลวงก็ได้คว่ำลงในน้ำว่านเป็นอันดับแรกก่อนที่พระครูบาจะดับเทียนลงในน้ำว่าน พระครูบาได้จุ่มเทียนเพื่อดับในน้ำว่านเป็นลำดับที่ ๒
พระครูบาได้ถามพระประกอบบุญว่า ”พระอ๊อด(พระประกอบบุญ)เอาตัวไปถูกไม้ที่พาดปากอ่างน้ำว่านหรือไม่?
พระประกอบบุญก็ตอบว่า “ผมไม่ได้ถูกต้องไม้เลยครับ”
พระครูบาจึงถามว่า ”อ้าว! แล้วใครคว่ำขันหลวง”
พระประกอบบุญ “ไม่ทราบครับ”
ครูบาจึงถามพระทุกรูปที่นั่งรายล้อมอ่างน้ำว่านว่า “ใครถูกต้องไม้และขันหลวง?”
ทุกรูปก็ตอบว่า “ไม่ได้ถูกต้องเลยครับ”
พระครูจึงได้ถามญาติโยมที่อยู่ด้านนอกราชวัตรก็ไม่มีใครเห็นว่าขันหลวงคว่ำโดยผู้ใดเลย เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
พระครูบาจึงพูดขึ้นว่า “พระเณร ! พิธีกรรมเราสมบูรณ์ที่สุด” แล้วท่านจึงเล่าเรื่องขันหลวงในพิธีพิชัยสงครามและพิธีพุทธาภิเษก
– ๑๘ –
พร้อมกับบอกพระเณรศรัทธาญาติโยมว่า ถ้าขันหลวงคว่ำอย่างนี้แสดงว่าครูบาอาจารย์เรามาคว่ำขันในพิธีเสกน้ำว่านแล้ว ผู้เขียนมองดูพระครูบาขนลุกไปทั่วตัวท่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่แสดงว่า ท่านพูดจริงและปิติเกิดขึ้นกับท่านพระครูบาแน่นอน เรื่องที่ขันหลวงคว่ำกลางอ่างน้ำมนต์โดยปาฏิหาริย์นี้เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนได้เห็นในพิธีเสกน้ำว่านในค่ำเวลาประมาณ ๒๑ น.เศษ ของวันเสาร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๗ ตรงกับ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ (เดือน ๑๐ เหนือ ) และเมื่ออาบน้ำว่านเสร็จแล้วก็จะได้นำพระรอดอาบน้ำมันพุทธมนต์และเข้าทำพิธีในพระอุโบสถ เพื่อให้พระเถราจารย์ร่วมทำพิธีอธิษฐานจิตต่อไป
พระรอดหลัง”อ” รุ่นปาฏิหาริย์ในครั้งนี้ มีมวลสารที่ดีที่สุดของการทำพระรอดหลัง “อ” ที่เคยมีมา และมีปรากฎการณ์ที่อัศจรรย์เหลือเชื่อเกินที่จะบรรยายจริง ๆ นับตั้งแต่เริ่มทำพิธีหล่อระฆังมา ท่านพุทธศาสนิกชนที่ได้พระรอดรุ่นนี้ไว้สักการะบูชาติดตัวย่อมเป็นสิ่งที่สมควรยิ่งเพราะมีของดีอยู่กับตัว เหมือนเช่นเดียวกันกับมีพระรอดรุ่นพระแม่เจ้าได้สร้างไว้แน่นอน
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง ภวันตุเต ฯ
ด้วยบุญบารมีที่พระครูบาและคณะสงฆ์สามเณร คณะศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาวัดสันป่ายางหลวงได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกพระรอดหลัง”อ” ในครั้งนี้มีน้อยและมากด้วยประการใด ๆ ก็ดี ขอจงเป็นผลปัจจัยแผ่ถึงหลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ ของพระครูบา ทุก ๆ รูป ทุก ๆ องค์และดวงวิญญาณแห่งพระแม่เจ้าจามเทวี เพทยดาอารักษ์ในนครจามเทวีศรีหริภุญชัยทั้งมวล จงได้รับผลกุศลโดยทั่วหน้ากันและขออำนาจทั้งหลายทั้งปวงจงมาปกปักรักษาทุก ๆ คนที่ได้มีพระรอดหลัง”อ”รุ่นปาฏิหาริย์ระฆังหลวงนี้ จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ โชคดีมีชัยกันทุก ๆ คน ทุก ๆ ท่าน ตลอดกาลนานเทอญ
ทำนุ รัตนันต์
๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗
ฯฯฯฯฯฯฯฯฯ
คำจารึก (๑)
ฯฯฯฯฯฯฯฯฯ
ระฆังจารีตยังประวัติและการสร้างเสนาสนะมาลุริวนารามวันสันป่ายางหลวง เมืองหริภุญชัย
สุรณมหินิยังติรตนตยัง พุทธเสฏฐนมิตวาสิริวิสุทธิ มหุตตวุฒิฑีฆา มังคลวิชัยโย พุทธศาสนาล่วงพ้นไปแล้ว ๒๕๔๖ วัสสา จุลศักราชได้ ๑๓๖๕ ตัว เม็ด(แพะ) เดือน ๑๐ ออก ๑๕ ค่ำ วัน ๑ ได้จารึกระฆังแก่นนี้
สรีสุทสวัสดี บัดนี้หมายมีสมณศรัทธา พระครูปัญญาธรรมวัฒน์(พระครูบาเจ้าอินทร ปัญญาวัฑฒโน มหาเถรเจ้าตนเป็นอารามาธิปติ วัดสันป่ายางหลวงเป็นเคล้ากับทั้งอันเตวาสิกเจ้าชุตน ชุองค์และนราอุปาสกอุปาสิกา ชุผู้ชุคนชุใหญ่น้อยชายหญิงได้ริร่ำตกแต่งสร้างห้างแปงปฏิสังขรยังเสนาสนะอันเก่าอันใหม่ในอารามแห่งนี้
มาลุวิวณารามวัดสันป่ายางหลวง สมัยก่อนจักตั้งเมืองหริภุญชัยแต่เดิม เป็นเทวสถานศาสนาพราหมณ์และเป็นแหล่งอาศัยหมู่ชาวขอมลำโพง กาลเมื่อก่อตั้งเมืองหริภุญชัยมีเจ้าแม่จามเทวีเป็นปฐมพญาเจ้าเมือง ชาวขอมลำโพงหมู่นั้นหันเตชะบารมีจึงได้ไหว้สาอ่อนน้อมเข้าสู่สมปานและได้ละยังศาสนาพราหมณ์ หันมานับถือพุทธศาสนา เจ้าแม่จามเทวีจึงได้สถาปนาอารามขึ้นแทนที่เทวสถานแห่งนั้น แล้วใส่ชื่อว่าวัดขอมลำโพง ต่อมาจึงได้เรียกชื่อใหม่ว่าอารามป่าไม้ยางหลวง ด้วยว่ามีไม้ยางหลวงมากนัก หื้อเป็นพระอารามหลวงฝ่ายอรัญวาสีหนหล่ายวันออกแจ่งเหนือเวียง แล้วได้อาราธนานิมนต์ยังชาวเจ้าภิกขุสังฆอันลุกแต่เมืองลวงปุรา(ละโว้)มาจำวัสสา เพื่อหื้อบรมสั่งสอนยังชาวขอมหมู่นั้น
อารามป่ายางหลวงแห่งนี้เจ้าแม่จามเทวีได้มาป่ำเป็งศีลธรรมกรรมฐานเป็นอจิณกรรม เมื่อเจ้าแม่จามเทวีได้มรณะกรรม เสี้ยงชีวิตลงก็ได้นำมาปลงพระศพที่อารามป่าไม้ยางหลวงแห่งนี้ สถานที่แห่งนั้นปัจจุบันเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองลำพูน
คำจารึก(๒)
อารามแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งยังอรหัตธาตุของอัครสาวกทั้งสอง อันมหาเถรเจ้าสามตนชื่อว่าพระกันฑโวตนหนึ่ง พระโสภโณตนถ้วนสอง พระอุตตโมตนถ้วนสาม ได้นำลุกแต่เมืองอังวะมาก่อเป็นเจดีย์ธาตุไว้
ภายลูน อารามป่าไม้ยางหลวงได้ห่างร้าง สองวาระ(สองเตื้อ) เตื้อหนึ่งนั้นสมัยพระเจ้าจุลราช พุทธศักราช ๑๔๖๙ เกิดโรคห่าขึ้นชาวเมืองล้มตายมากนัก จึงพากันหนีไปอยู่เมืองหงสาวดีได้ ๖ ปีจึงคืนกลับมาดั่งเก่า เตื้อสองนั้นในสมัยพระเจ้า
พินไตย เกิดศึกเจ้าไทยอำมาตย์เจ้าเมืองลำปาง ยกมาตีเอาเมืองใด้ พุทธศักราชกาละพ้นไปแล้ว พญาเจ้าเมืองกษัตริย์หริภุญชัย จุตนได้มาอุปฐากบำรุงค้ำชูรักษายังอารามป่าไม้ยางหลวงหื้อก้านกุ่งรุ่งเรืองจนตราบปัจจุบันกาลนี้
ทีนี้จักกล่าวยังลำดับตนเป็นเจ้าอารามาธิปติเป็นใหญ่กว่าภิกษุทั้งมวลในอารามนี้ ตามที่แขวดกฎหมายรู้ได้ต๋นหนึ่งชื่อว่า พระครูบาเจ้าญาณวีโร ต๋นถ้วนสองพระครูบาเจ้าบุญทา จันทวังโส ต๋นถ้วนสามพระครูบาปินตา ธรรมปัญโญ ต๋นถ้วนสี่พระครูบาคำซาว อุปโล สมณศักย์เป็นพระครูอภัยคุณวัฒน์ ต๋นถ้วนห้าพระครูบาเจ้าอินทร ปัญญาวัฆฒโณ ได้สมณศักย์เป็นพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ เป็นเจ้าอารามในปัจจุบันนี้ เหลือนั้นไปบ่อาจรู้ได้
ในสมัยที่พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ ครูบาเจ้าอินทรเป็นเจ้าอารามนั้น ครูบาเจ้าได้นำพาอันเตวาสิกโยมและอุปาสกอุปาสิกาบูรณะปฏิสังขรเสนาสนะอันลุเก่าคร่ำชราได้หื้อสร้างขึ้นใหม่ ครูบาเจ้าตนนั้นได้สร้างขึ้นใหม่ พุทธศักราช ๒๕๑๖ พร้อมกับทั้งพระเจดีย์ธาตุอันหุ้มด้วยสุวรรณคำและทองจังโกฏ พระอุโบสถ หอพระธรรมปิฎก หอระฆัง ศาลากว้านทาน ก๋ำแปง ศาลาฉันจังหัน กุฏิหอโรงใหญ่น้อยทั้งหลาย ประการหนึ่งได้สร้างพระวิหารหลวงแล้วด้วยไม้สัก ลักควักต่องแต้มทั้งหลัง ประดับด้วยแก้วและสุวรรณรุ่งเรืองงามมากนัก ชั้นปายลุ่มเป็นปูนปั้นรูปต่าง ๆ ครูบาเจ้าอินทรได้สร้างยังพุทธพิมพาสารูปใหญ่น้อยทั้งหลายหมายมีพระพุทธอัญญรัตนมหานทีศรีหริภุญชัย เรียกว่าพระเขียวโขงองค์หนึ่ง พระนิลสมุทร สร้างจากแร่นิลเกาะล้าน จังหวัดชลบุรีองค์หนึ่ง พระรัตนมัคลามุณีหริภุญชัย พระสิกขีลำพูนและพระชัยมังคลามุณี ทั้งสององค์นี้สร้างด้วยนาค ยังมีพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุอีกมากมายที่เสด็จมาเองน่าอัศจรรย์ใจมากนักและพระพุทธพิมพาสารูปใหญ่น้องที่สร้างด้วยสุวรรณทองคตำ หิรัญญเงิน รัตนแก้วมณีและสร้างด้วยดิน ด้วยไม้ งาช้างอีกมากมาย อันเกิดจากบุญสมพาน บารมีแห่งครูบาเจ้าอินทร ตนนั้น ครูบาเจ้าอิทรจึงได้อาราธนาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นขึ้นประดิษฐานตั้งไว้ในพระวิหารพระเขียวโขง เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาแก่เทพ พรหม เทวดา มนุษย์ทั้งหลายไปตลอดห้าพันพระวัสสากาล
ประการหนึ่ง ครูบาเจ้าอินทรได้สร้างพระสกุลหริภุญชัย(ลำพูน)พิมพ์ต่าง ๆ บรรจุฝังไว้ในอารามสันป่ายางหลวง กาละภายภาคหน้า ผู้ใดได้พบแล้วให้บูชาด้วยวัตถุเป็นทองแล้วให้นำมาบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะในอารามสันป่ายางหลวงให้รุ่งเรืองงาม มั่นคงสืบไปภายหน้า ผู้ใดได้นำไปโดยมิชอบจักได้พบประสพยังภัยพิบัติอันตรายวินาศฉิบหาย จักหาความสุขความวุฒิเจริญรุ่งเรืองไม่ได้เลย
บัดนี้หมายมีสมณศรัทธาพระครูปัญญาธรรมวัฒน์(ครูบาอินทร ปัญญาวัฒโณ) พร้อมทั้งพระภิกษุ สามเณร อันเตวาสิกเจ้าจุต๋นชุองค์และมูลศรัทธา อุปาสกอุปาสิกาได้สร้างระฆังหลวงจามเทวีศรีหริภุญชัยลูกนี้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๖ จุลศักราช ๑๓๖๕ ปีกล่าเม็ด เดือน ๑ แรม ๖ ค่ำ วันศุกร์ ถวายเป็นทานแก่พระแก้วเจ้า ๓ ประการไว้ในวันสันป่ายางหลวง เพื่อค้ำชูโชตกวรพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ พระวัสสานิพพาน ปัจจโย โหตุโน นิจจัง นิพพานังปรนังสุขขัง
ระฆังลูกนี้หนัก ๑๗,๐๐๐ กิโลกรัม สูง ๖ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอกคืบ เสี้ยงเงิน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
สล่าผู้หล่อนายธรรมภณ ใหม่วัน บ้านหลังวัดกู่ขาว ตำบลริมปิง เป็นสล่าผู้หล่อ
ฯฯฯฯฯฯฯฯฯ
ทำนุ รัตนันต์
บันทึก
๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗
———————————————————————————
จัดทำโดย ร้านเจซี-คอมพิวเตอร์ลำพูน
Tel:098-6964544 : 086-654-9814 พี่ต้อม
เวป jccomputer-lamphun.com ร้านเจซี-คอมพิวเตอร์ลำพูน
เวป cctv and it support .com หจก.ซีซีทีวีแอนท์ไอทีซัพพอร์ต